คิดบวก...คือแรงผลักดันอันยิ่งใหญ่ ที่จะทำให้เราก้าวไปข้างหน้าได้
อุปสรรคและปัญหา คือยากำลัง....ความหวังคือแรงผลักดัน....!!
 
 
การตั้งเป้าหมาย ส่งทุกความคิดเหห็นได้ที่ ติดต่อ ทัต ณ ฝั่งโขง บนเฟชบุค
เกี่ยวกับเว็บไซต์คิดบวก หมวดหมู่บทความคิดบวก ข่าวประชาสัมพันธ์ ธรรมะ,ข้อคิด,ท่าน ว.วชิรเมธี, ติดต่อทีมงานคิดบวก
เปิดร้านค้าออนไลน์ | ลงโฆษณา์ ฝากข่าว (ฟรี) | รับทำ SEO | รับทำเว็บไซต์ |
 
 
ค้นหาข้อมูลที่ต้องการ>>
Loading
 
สตีเวน พอล จ็อบส์ อดีตผู้ร่วมก่อตั้ง ประธาน และผู้บริหารสูงสุดของบริษัทแอปเปิล อิงค์
 
คีย์แมนคนสำคัญแห่งวงการคอมพิวเตอร์และอุตสาหกรรมไอทีชาวอเมริกัน อดีตผู้ร่วมก่อตั้ง ประธาน และผู้บริหารสูงสุดของบริษัทแอปเปิล อิงค์ รวมถึง เป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของนวัตกรรมสุดล้ำอย่างคอมพิวเตอร์แม็คอินทอช ไอพอด ไอแพด และไอโฟน ได้เสียชีวิตลงแล้วเมื่อ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2011 ตามเวลาท้องถิ่นในสหรัฐฯ ในวัย 56 ปี จากอาการป่วยด้วยโรคมะเร็งที่ตับอ่อน...

ชื่อ-นามสกุล : สตีเวน พอล จ็อบส์

วันเดือนปีเกิด : 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1955

สถานที่เกิด : นครซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

อาชีพ : อดีตผู้ร่วมก่อตั้ง ประธาน และผู้บริหารสูงสุดของบริษัทแอปเปิล อิงค์ ,นักพัฒนาด้านไอที

ประวัติการศึกษา
-สำเร็จการศึกษาในช่วงก่อนอุดมศึกษาที่โรงเรียนคิวเพอร์ติโน จูเนียร์ ไฮ และโฮมสเตด ไฮ สคูล ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย
-เข้าศึกษาที่วิทยาลัยรีด คอลเลจ ในเมืองพอร์ตแลนด์ มลรัฐโอเรกอนเมื่อปี ค.ศ. 1972 แต่ลาออกหลังศึกษาได้เพียง 1 ภาคเรียน

ประวัติการทำงาน
- เริ่มต้นทำงานอย่างเต็มตัวในฐานะช่างเทคนิคที่บริษัทผลิตวิดีโอ เกมส์ "อทารี"ในปี ค.ศ.1974 
- ร่วมกับสตีฟ วอซเนียคและโรนัลด์ เวย์น ก่อตั้งบริษัทแอปเปิลในปีค.ศ. 1976
- หันหลังให้กับแอปเปิลและก่อตั้งบริษัทเน็กซ์ คอมพิวเตอร์ในปี ค.ศ. 1985
- ซื้อกิจการบริษัทกราฟิกส์ กรุ๊ป หรือ "พิกซาร์" ผู้ผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น ก่อนกลายเป็นผู้บริหารระดับสูงของ "วอลต์ ดิสนีย์" ในเวลาต่อมา
- กลับสู่บริษัทแอปเปิลอีกครั้งในปี ค.ศ.1996
- รับตำแหน่งซีอีโอของแอปเปิลอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน ค.ศ.1997
- ลาออกจากตำแหน่งซีอีโอในเดือนสิงหาคม ค.ศ.2011
 

มนุษย์นั้นแสวงหาทางเป็นอมตะมาน่าจะพร้อมๆกับการมีวัฒนธรรม

       ภูมิปัญญาทางด้านเภสัชกรรมของจีนโบราณ เป็นไปเพื่อการแสวงหาเป้าหมายสูงสุดของโอสถ คือ “ยาอายุวัฒนะ” หรือยาอันช่วยในการยืดชีวิตไปให้ได้นานเท่า นาน

       เครื่องยาอันแปลกประหลาด เช่น อุ้งตีนหมี นอแรด หนวดเต่า เขากระต่าย น้ำลายยุง ถูกนำมาปรุงประกอบเพราะเชื่อว่าจะชะลอความชรา และฉุดคร่ามรณะ

       หรือชาวอียิปต์โบราณที่อาจจะยอมแพ้กับการเป็นอมตะ แต่เชื่อในเรื่องการคืนชีพ จึงพยายามรักษาศพให้อยู่ในสภาพที่ดีเท่าที่จะทำได้ เพื่อรอวันกลับคืนมา

       มนุษย์ล้วนรักหวงชีวิตของตน แม้แต่คนที่ตัดสินใจปลิดชีพตนเอง ผมก็เชื่อว่าวินาทีสุดท้ายก่อนที่ลมหายใจจักจาก หรือเมตรสุดท้ายก่อนร่างกระทบพื้น คงจะมีเสี้ยว วินาทีที่รู้สึกเสียดายชีวิต

       ครั้งหนึ่งเคยมีมารดาผู้เสียบุตร ร่ำร้องต่อพระพุทธเจ้าว่า ขอให้องค์พระศรีศากยะผู้รู้ธรรม นำชีวิตบุตรของหล่อนกลับคืนมาด้วย

       พระพุทธเจ้าตรัสว่า หากแม้นมีครอบครัวใด ที่ไม่เคยมีคนตายเลยแม้แต่ช่วงอายุเดียว ให้เจ้านำเมล็ดผักกาดจากบ้านนั้นมาเถิด ข้าจักชุบชีวิตบุตรของเจ้าให้

       ครอบครัวเช่นว่านั้นไม่มีอยู่ และไม่พึงต้องพูดถึงเมล็ดผักกาด

       แน่ละ มนุษย์ไม่มีวันเป็นอมตะ แต่มนุษย์ก็มีความสามารถในการสร้างสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นอมตะ

       ป.อินทรปาลิต เขียนหนังสือ “พล นิกร กิมหงวน” ขึ้นตั้งแต่ราวๆ ปี 2480 จนถึงราว พ.ศ. 2510 ป. อินทรปาลิตเสียชีวิตไปกว่าสามสิบปี แต่ผลงานของเขายังได้รับ การตีพิมพ์ กล่าวถึง มีแฟนคลับที่หนาแน่น และเป็นหนังสือขายดีตลอดกาลมาจนทุกวันนี้

       ความคิดเรื่องทฤษฎีสัมพันธ์ภาพ ในการเปลี่ยนมวลสารเป็นพลังงาน ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ยังมีการศึกษากันอยู่ในมหาวิทยาลัย และแปรรูปไปใช้เป็นโรงไฟฟ้า ปรมาณูเป็นพันแห่งทั่วโลก

       ความคิดที่พระเจ้านโปเลียนบัญชาให้รวบรวมและเรียบเรียงกฎหมายต่างๆของฝรั่งเศส ให้อยู่ในรูปแบบระบบที่อ้างอิงได้ง่าย เป็นต้นกำเนิดของระบบประมวล กฎหมายในโลกตราบถึงทุกวันนี้

       รูปภาพ เซนต์ จอห์น เดอะ แบบติสม์ โมนาลิซ่า (หรือลาโจกง) เวอร์จิน ออฟ เดอะ ร๊อก ของลีโอนาโด ดา วินชี่ มีผู้เข้าชมเป็นหมื่นๆ สายตาต่อวัน

       ซิมโฟนีหมายเลขห้า ของบีโธเฟน ถูกบรรเลงผ่านสื่อต่างๆ มากกว่าหมื่นรอบในแต่ละวัน

       อองตวน เดอ แซงเต็กซูเปรี ขับเครื่องบินหายไปในความมืดในคืนหนึ่งเมื่อห้าสิบกว่าปีก่อน แต่หนังสือ “เจ้าชายน้อย” ของเขายังไม่เคยหายไปจากร้านหนังสือทั่ว โลก

       ฯลฯ

       เช่นเดียวกับ สตีฟ จ็อบส์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple Computer ผู้ผลิตและส่งออก “วัฒนธรรม i” - iMac, iPod, iPhone, iPad ทั้งหลาย

       สำหรับผม เขาไม่ได้ยิ่งใหญ่เพียงเพราะเจ้า i ทั้งหลายนั้น แต่เขาคือรากฐานสำคัญคนหนึ่ง ของการทำให้คอมพิวเตอร์กลายเป็น “ของง่าย” หรือ “เครื่องใช้ประจำวัน” เช่นปัจจุบันนี้

       ยุคสมัยที่คอมพิวเตอร์คือของใช้เฉพาะในห้องแลป หรือมหาวิทยาลัย คนจะเรียนวิชา ''พื้นฐานคอมพิวเตอร์'' ในโรงเรียนมัธยมของผมที่มีสอน (ซึ่งถือว่าทันสมัยมาก สอนคอมพิวเตอร์ในยุค 198X) จำกัดว่า ผู้เรียนต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3

       ในยุคที่การใช้งานคอมพิวเตอร์ยังต้องคีย์คำสั่งเป็นบรรทัด ซื้อคอมพิวเตอร์แถมตำรา DOS และ BasicA หนาเท่าสมุดโทรศัพท์ ที่ปรานีผู้ใช้งานภาคพื้นบ้านที่สุด แล้วก็คงเป็นพวกระบบ WYSIWYG เช่น CU-Writer หรือ Lotus 1-2-3

       ช่วงเวลานั้น เขาเป็นคนประยุกต์ให้คอมพิวเตอร์มีการติดต่อกับคนผ่านระบบรูปภาพกราฟฟิก ด้วยคอมพิวเตอร์ Apple Lisa ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า เป็น “ตัวแม่” ของ Macintosh ต่อนจะ ติดตามมาด้วย Windows และ ระบบปฏิบัติการที่ใช้ GUI ทั้งหลายในปัจจุบัน

       จนถึงยุคที่ใครๆก็มีคอมพิวเตอร์ใช้ในรูปแบบต่างๆ เป็นของใช้ธรรมดาคล้ายโทรทัศน์หรือวิทยุในทุกวันนี้ อาจกล่าวได้ว่า สตีฟ จ็อบส์ มีส่วนร่วมของเรื่องนี้ไม่น้อยกว่า 40%

       เขาไม่ใช่คนแรกที่คิดค้นระบบ GUI แต่เขาทำให้มันแพร่หลายหลังจากที่เขาเอามือไปหยิบมันขึ้นมา

       เขาไม่ใช่คนแรกที่คิดค้น Mp3 Player หรือ Multimedia smart phone หรือแม้แต่ Tablette Computer

       แต่เขาเป็นคนที่ยกมันขึ้นมาบอกชาวโลกว่า “ลืมเทป,แล้วมาฟังเพลงจากไฟล์กันเถอะ” “โทรศัพท์อย่าแค่เอาไว้โทรศัพท์เลย เอามาถ่ายรูปถ่ายวิดิโอลูกของคุณ เก็บหรือส่งไปอวดคนอื่นกันเถอะ” หรือ “เราพกคอมพิวเตอร์อย่างที่พกสมุดกันดีกว่า”        มนุษย์ไม่มีวันเป็นอมตะ

       แต่มนุษย์มีมันสมอง และจินตนาการ

       ที่สร้างสรรค์สิ่งอันเป็นอมตะได้....

       ทุกครั้งที่มีผู้สัมผัสหน้าจอของ iPhone หรือ iPad หรือเมื่อใดที่แสงไฟรูปแอปเปิ้ลถูกกัดวาบสว่างขึ้นจากด้านหลังจอเครื่อง Macintosh

       เมื่อนั้น เสียงหัวใจของสตีฟ จ็อบส์ จะยังคงดังต่อเนื่องอยู่

ฉบับแรกเขียนเมื่อ
26 กันยายน 2548
ในชื่อ “อมตะ”

 
 
 
 
 
ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/17324


คีย์แมนคนสำคัญแห่งวงการคอมพิวเตอร์และอุตสาหกรรมไอทีชาวอเมริกัน อดีตผู้ร่วมก่อตั้ง ประธาน และผู้บริหารสูงสุดของบริษัทแอปเปิล อิงค์
IDOL คนดลใจ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
  Copyright 2011 kidbuak.com