เกี่ยวกับเว็บไซต์คิดบวก หมวดหมู่บทความคิดบวก ข่าวประชาสัมพันธ์ ธรรมะ,ข้อคิด,ท่าน ว.วชิรเมธี, ติดต่อทีมงานคิดบวก
  HOME ::
ค้นหาข้อมูลที่ต้องการ>>
Loading
 
 
 
 

ศาสนา หมายถึง ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเหนือธรรมชาติ ในหลักอภิปรัชญาว่าทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นมาดำรงอยู่และจะเป็นเช่นไรต่อไป มีหลักการ สถาบัน หรือประเพณี ที่เป็นที่เคารพโดยทั่วไป แล้วอาจกล่าวได้ว่า ศาสนาเป็นสิ่งที่ควบคุม และประสานความสัมพันธ์ของมนุษย์ ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข คือ ให้มีหลักการ ค่านิยม วัฒนธรรมร่วมกันและวิถีทางที่มนุษย์เลือกใช้ในการดำรงชีวิต ให้สังคมเป็นหนึ่งเดียวกัน มีแนวทางไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยหลักจริยธรรม คุณธรรม ศิลธรรมที่เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน

สำหรับประเทศไทย ประชาชนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา โดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภ์ทุกศาสนา ศาสนาสำคัญ และมีคนนับถือมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์

นอกจากการนับถือศาสนาแล้ว ยังมีความเชื่อไม่นับถือศาสนาด้วย เรียก "อศาสนา" (อังกฤษirreligion) และผู้ไม่นับถือศาสนาเรียก "อศาสนิก" (อังกฤษirreligious person)

 

องค์ประกอบของศาสนา

  1. สิ่งเคารพสูงสุด
  2. ศาสดา
  3. คัมภีร์
  4. ผู้สืบทอด
  5. ศาสนสถาน
  6. สัญลักษณ์
  7. พิธีกรรม
 
 

สุดอัศจรรย์...16 คำทำนายพระพุทธเจ้า ชี้ชะตามนุษย์โลก,

ธรรมะ ท่าน ว.วชิรเมธ ชีวิตคิดบวก

7 มหัศจรรย์แห่งชีวิต และ 7 หลักคิดจาก ว.วชิรเมธี

 
   
 

7 มหัศจรรย์แห่งชีวิต และ 7 หลักคิดจาก ว.วชิรเมธี

ช่วง เทศกาลแห่งความสุขนี้ ใครที่กำลังเป็นทุกข์ ทั้งทางกายและทางใจ และกำลังมองหาหนทางในการก้าวไปสู่การดับความทรมานใจนั้นๆ ลองปรับทัศนะของชีวิต ด้วยแนวคิดเชิงบวก ข้อคิดดีๆ จาก พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ว.วชิรเมธี

ว.วชิรเมธี พระนักเทศน์ชื่อดัง ได้ให้ข้อคิดในหลักธรรมแห่งการดำเนินชีวิต ในหนังสือชุด “มหัศจรรย์แห่งชีวิต” ประกอบ ด้วย ซีดี และหนังสือรวบรวมแนวคิด ซึ่งผู้ฟังและผู้อ่านสามารถนำข้อคิดที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อบรรเทาความทุกข์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะ ในสถานการณ์ปัจจุบัน กับภาวะเครียดที่รุมเร้าคนไทย ทั้งวิกฤตการเมืองและวิกฤตเศรษฐกิจ

สำหรับ 7 หลักคิดในเชิงบวก ที่สามารถหยิบมาเป็นยาชูกำลังใจในยามท้อแท้ได้อย่างดีเยี่ยม โดยใน 7 หลักคิด มีข้อคิดดีๆ อีก 7 ข้อ เป็นพลังมหัศจรรย์ของ 7x7 ได้แก่

1. ความคิดดีๆ เป็นที่มาแห่งความสุข แน่นอนว่าเมื่อเรามีความคิดดีๆ โลกก็จะดีตามอย่างที่เราคิด ดังที่ท่านว่าไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า “โลกเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับว่าเราใส่แว่นตาสีอะไรมองโลก หากมองโลกในแง่ดี ชีวิตมีแต่สิ่งรื่นรมย์ หากมองโลกในแง่ร้าย ชีวิตมีแต่ความวุ่นวายและทุกข์ระทม”

2. ปัญญาดีย่อมมีความสุข คนมีปัญญาย่อมใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาเพื่อให้พ้นทุกข์ ดังนั้น สำหรับคนมีปัญญา วิกฤตอยู่ไหน ปัญญาอยู่นั่น ส่วนคนด้อยปัญญา โอกาสอยู่ไหน วิกฤตอยู่นั่น จงเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญา เปลี่ยนอุปสรรคเป็นอุปกรณ์

3. ชีวิตของคนดีคือชีวิตที่มีความสุข ดังท่านว่า ดอกไม้หอมได้บางดอก แต่มนุษย์หอมได้ทุกคน หากเขาเป็นคนดี กลิ่นดอกไม้แม้หอมขนาดไหน ก็หอมได้แต่ตามลมเท่านั้น ส่วนกลิ่นความดีของคนดีนั้น หอมหวนทวนลม ฟุ้งกระจายไปในทิศทั้งสี่ ดอกไม้ผลิบานแล้วไม่นานก็ร่วงโรย แต่ความดีของคนนั้น สถิตเป็นนิรันดร์เหนือกาลเวลา

4. ปฏิสัมพันธ์ดีก็มีความสุข ซึ่งเป็นการเลือกคบมิตร โลกนี้มีมิตรอยู่ 3 ประเภทคือ 1. ปาปมิตร เพื่อนชั่ว จงอย่าคบ 2. กัลยาณมิตร เพื่อนดี จงคบ 3. พันธมิตร เพื่อนที่ผูกพันกันด้วยผลประโยชน์ จงระวัง

5. ทำงานดีก็มีความสุข ท่านว่าไว้ คนจำนวนมากเป็นทุกข์ขณะทำงาน แต่เบิกบานเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ โดยหารู้ไม่ว่า ในหนึ่งสัปดาห์มีเสาร์-อาทิตย์แค่สองวัน จงเป็นสุขขณะทำงาน จงเบิกบานขณะหายใจ

6. มองโลกในแง่ดี ชีวิตมีความสุข ดัง ผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มันถูกอยู่แล้ว มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ผิด ใครทำความเข้าใจคำกล่าวนี้ได้อย่างลึกซึ้ง คนนั้นจะไม่ทุกข์ และเขาจะไม่หวั่นไหว ในความผันแปรของชีวิต สิ่งใดเกิดขึ้นมาเขาจะอุทานอยู่เสมอว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง”
7. ครอบครัวดีทวีความสุข ครอบครัวคือพื้นฐานสำคัญของชีวิต บุตรธิดาคืออนุสาวรีย์ของพ่อแม่ หากลูกเป็นคนดี อนุสาวรีย์ของพ่อแม่ก็งดงาม หากลูกเลวทราม อนุสาวรีย์ของพ่อแม่ก็อัปลักษณ์

ผู้ที่สนใจอยากจะมอบสิ่งดีๆ ให้เป็นของขวัญแก่กันในช่วงเทศกาลแห่งความสุขนี้ สามารถหาซื้อ ชุดมหัศจรรย์แห่งชีวิต ได้ในราคาเพียง 59 บาท ที่ร้านบุ๊คสไมล์และ 7-eleven ทุกสาขาทั่วประเทศ

นอกจากจะได้บุญต่อที่ 1 ด้วยการมอบคมความคิดสร้างปัญญาแล้ว ยังได้บุญต่อที่ 2 เพราะรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย สมทบทุนสถาบันวิมุตตยาลัย โครงการ “วัดป่าชานเมือง” วัดป่าสำหรับคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้ได้มีโอกาสพักผ่อนกายและใจ

 
ได้อะไรเมื่อไปงานศพ : พระพิจิตรธรรมพาที
ได้แบบชาวบ้าน
๑. ได้แสดงความเคารพนับถือผู้ตาย
๒. ได้แสดงความเห็นเจ้าภาพ
๓. ได้ซึมซาบในสัจจธรรม
๔. ได้หม่่าข้าวต้ม - ของเลี้ยง
๕. ได้ชื่นชมของช่าร่วย - ของแจก
๖. ได้รวยทางลัด - เอาอายุคนตายไปซื้อหวย รวยไม่รู้ตัว
 
 
วิชาธรรมวิภาค
ทุกะ คือ หมวด ๒
ธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง
๑. สติ ความระลึกได้
๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
สติ คือ เมื่อก่อนจะทาจะพูดจะคิด ก็มีความนึกได้อยู่เสมอว่า เมื่อทาหรือพูดหรือคิดไปแล้วจะ
มีผลเป็นเช่นไร จะดีหรือไม่ดี มีประโยชน์หรือไม่มี ถ้าคนมีสติระลึกได้อยู่เช่นนี้แล้ว จะทาจะพูดจะคิด
ก็ไม่ผิดพลาด
สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัวในขณะเวลากาลังทาหรือพูดหรือคิดเป็นเครื่องสนับสนุนสติให้
สาเร็จตามความต้องการ
ธรรมเป็นโลกบาล คือ คุ้มครองโลก ๒ อย่าง
๑. หิริ ความละอายแก่ใจ
๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัว
หิริ คือ ความละอายต่อใจตนเองเมื่อจะประพฤติทุจริตต่อการทาบาป ทาความชั่วไม่กล้าทาทั้ง
ในที่ลับและ ที่แจ้งเกลียดการทาชั่ว เหมือนคนชอบสะอาดไม่อยากแตะต้อง ของสกปรกฉะนั้น
โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อผลของการทาชั่ว โดยคิดว่าคนทาดีได้ดีคนทาชั่วได้ชั่ว กลัว
ผลของกรรมนั้นจะตามสนอง จึงไม่กล้าทาความชั่วทั้งในที่แจ้งและที่ลับ
ธรรมอันทาให้งาม ๒ อย่าง
๑. ขันติ ความอดทน
๒. โสรัจจะ ความเสงี่ยม
ขันติ มี ๓ คือ ๑. อดทนต่อความลาบาก ได้แก่ ทนต่อการถูกทรมานร่างกาย เช่น ทาโทษทุบตี
ต่าง ๆ พร้อมทั้งอดทนต่อความเจ็บไข้
๒. อดทนต่อการตรากตรา ได้แก่ ทนทางานอย่างไม่คิดถึงความลาบาก ทั้งทนต่อสภาพดินฟูา
อากาศ มีหนาวลมร้อนแดดเป็นต้น
๓. อดทนต่อความเจ็บไข้ ได้แก่ ทนต่อคากล่าวดูถูกเหยียดหยามหรือพูดประชดให้เจ็บใจ
โสรัจจะ คือความเสงี่ยมเรียบร้อย ไม่แสดงความในใจออกมาให้ผู้อื่นรู้เห็น ในเมื่อเขาพูดดูถูก
เหยียดหยาม หรือไม่แสดงอาการการดีอกดีใจจนเกินไปในเมื่อได้รับคายกยอสรรเสริญ
บุคคลหาได้ยาก ๒ อย่าง
๑. บุพพการี บุคคลผู้ทาอุปการะก่อน
๒. กตัญญูกตเวที บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทาแล้ว และตอบแทน
บุพพการี ได้แก่ ผู้ที่มีพระคุณมาก่อนได้ทาประโยชน์แก่เรามาก่อน จาแนกออกเป็น ๔
ประเภท คือ พระพุทธเจ้า พระมหากษัตริย์ พระอุปัชฌาย์อาจารย์ และบิดามารดา
ติกะ คือ หมวด ๓
รัตนะ ๓ อย่าง
๑. พระพุทธ ๒. พระธรรม ๓. พระสงฆ์
๑.ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วย วาจา ใจ ตามพระธรรมวินัย ที่พระท่านเรียกว่า
พระพุทธศาสนา ชื่อว่า พระพุทธเจ้า
๒.พระธรรมวินัยที่เป็นคาสั่งสอนของท่านชื่อว่า พระธรรม
๓.หมู่ชนที่ฟังคาสั่งสอนของท่านแล้ว ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัยชื่อว่าพระสงฆ์
พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์นี้เรียกว่า ”รัตนะ” เพราะเป็นแก้วอันประเสริฐหาค่ามิได้ ทาให้ชนผู้
เลื่อมใสเกิดความยินดีมีความสงบ ไม่เบียดเบียนกันและกันจะหาทรัพย์อื่นเสมอเหมือนไม่มี ประเสริฐ
กว่าแก้วแหวนเงินทองเพชรนิลจินดาทั้งปวงจึงรวมเรียกว่า “พระรัตนตรัย“
คุณของรัตนะ ๓ อย่าง
- พระพุทธเจ้ารู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย
- พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปชั่ว
-พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามคาสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย
อาการที่พระพุทธเจ้าเจ้าทรงสั่งสอน ๓ อย่าง
๑. ทรงสั่งสอน เพื่อจะให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
๒. ทรงสั่งสอนมีเหตุที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้
๓. ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์ โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ
โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ อย่าง
๑. เว้นจากทุจริต คือประพฤติชั่ว ด้วยกาย วาจา ใจ.
๒. ประกอบสุจริต คือ ประพฤติชอบ ด้วยกาย วาจา ใจ.
๓. ทาใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น
ทุจริต ๓ อย่าง
๑. ประพฤติชั่วด้วยกาย เรียกกายทุจริต
๒. ประพฤติชั่วด้วยวาจา เรียกวจีทุจริต
๓. ประพฤติชั่วด้วย ใจ เรียกมโนทุจริต
กายทุจริต ๓ อย่าง
๑. ฆ่าสัตว์ ๒. ลักฉ้อ ๓. ประพฤติผิดในกาม
วจีทุจริต ๔ อย่าง
๑. พูดเท็จ ๒. พูดส่อเสียด
๓. พูดคาหยาบ ๔. พูดเพ้อเจ้อ
มโนทุจริต ๓ อย่าง
๑.โลภอยากได้ของเขา ๒. พยาบาทปองร้ายเขา
๓. เห็นผิดจากคลองธรรม
ทุจริต ๓ อย่างนี้ เป็นกิจไม่ควรทา ควรละเสีย
สุจริต ๓ อย่าง
๑. ประพฤติชอบด้วยกาย เรียกกายสุจริต
๒. ประพฤติชอบด้วยวาจา เรียกวจีสุจริต
๓. ประพฤติชอบด้วยใจ เรียกมโนสุจริต
กายสุจริต ๓ อย่าง
๑. เว้นจากฆ่าสัตว์
๒.เว้นจากลักฉ้อ
๓.เว้นจากประพฤติผิดในกาม
วจีสุจริต ๔ อย่าง
๑. เว้นจากพูดเท็จ ๒. เว้นจากพูดส่อเสียด
๓. เว้นจากพูดคาหยาบ ๔. เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ
มโนสุจริต ๓ อย่าง
๑. ไม่โลภอยากได้ของเขา
๒. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
๓. เห็นชอบตามคลองธรรม
สุจริต ๓ อย่างนี้ เป็นกิจควรทา ควรประพฤติ.
อกุศลมูล ๓ อย่าง
รากเง่าของอกุศล เรียกอกุศลมูล มี ๓ อย่าง
๑. โลภะ อยากได้ ๒. โทสะ คิดประทุษร้ายเขา ๓. โมหะ หลงไม่รู้จริง
กุศลมูล ๓ อย่าง
รากเง่าของกุศล เรียก กุศลมูล มี ๓ อย่าง คือ
๑. อโลภะ ไม่อยากได้ ๒. อโทสะ ไม่คิดประทุษร้ายเขา ๓. อโมหะ ไม่หลง
ถ้ากุศลมูลเหล่านี้ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ก็ดี มีอยู่แล้ว กุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิด
แล้วก็เจริญมากขึ้น เหตุนั้นควรให้เกิดมีในสันดาน
สัปปุริสบัญญัติ คือ ข้อที่ท่านสัตบุรุษตั้งไว้ ๓ อย่าง
๑. ทาน สละสิ่งของ ๆ ตนเพื่อนเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
๒. ปัพพัชชา ถือบวช เว้นจากเบียดเบียนกันและกัน
๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน ปฏิบัติมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข
อปัณณกปฏิปทา คือปฏิบัติไม่ผิด ๓ อย่าง
๑. อินทรียสังวร สารวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟัง
เสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ
๒.โภชเนมัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการกินอาหารแต่พอสมควร ไม่มากไม่น้อย.
๓.ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรเพื่อจะชาระใจให้หมดจด ไม่เห็นแก่นอนมากนัก
บุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง
บุญกิริยาวัตถุ สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบาเพ็ญบุญเรียกมี๓ อย่าง
๑. ทานมัย บุญสาเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสาเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสาเร็จด้วยการเจริญภาวนา
การรักษาศีลคือ ระเบียบข้อฝึกหัดกายวาจาให้เรียบร้อยจาแนกออกเป็น ๓ อย่าง คือศีล ๕
สาหรับคฤหัสถ์ทั่วไปเรียกว่าจุลศีล ศีล ๘ สาหรับอุบาสกอุบาสิกา และศีล ๑๐ สาหรับสามเณร
เรียกว่า มัชฌิมศีล ศีล ๒๒๗ สาหรับพระภิกษุ เรียกว่ามหาศีล
สามัญลักษณะ ๓ อย่าง
สามัญลักษณะ ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง มี ๓ อย่างคือ
๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์ ( ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ )
๓. อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน
สามัญลักษณะทั้ง ๓ นี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไตรลักษณ์
จตุกกะ คือ หมวด ๔
วุฒิ คือ ธรรมเป็นเครื่องเจริญ ๔ อย่าง
๑. สัปปุริสสังเสวะ คบท่านผู้ประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจที่เรียกว่าสัตบุรุษ.
๒. สัทธัมมั สสวนะ ฟังคาสอนของท่านโดยเคารพ.
๓. โยนิโสมนสิการ ตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีหรือชั่วโดยอุบายที่ชอบ.
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมซึ่งได้ตรองเห็นแล้ว
จักร ๔
๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร
๒. สัปปุริสูปัสสยะ คบสัตบุรุษ
๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
๔. ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทาความดีไว้ในปางก่อน
ประเทศอันสมควรนั้นคือ ประเทศที่มีสัตบุรุษอาศัยอยู่มีบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสกอุบาสิกาอยู่ มีการบริจาคทานหรือคาสอนของพระพุทธเจ้ายังรุ่งเรืองอยู่
การคบหาสัตบุรุษนั้น คือการคบหาท่านผู้เป็นสัมมาทิฏฐิประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจและ
สามารถแนะนาผู้อื่นให้ตั้งอยู่ในความดีได้เช่น พระพุทธเจ้าเป็นต้น
การตั้งตนไว้ชอบนั้นคือ บุคคลผู้ไม่มีศีลก็ทาตนให้ตั้งอยู่ในศีล ไม่มีศรัทธาก็ทาตนให้มี
ศรัทธา ผู้มีความตระหนี่ก็ทาตนให้เป็นคนถึงพร้อมด้วยการบริจาค
ความเป็นผู้ได้ทาบุญไว้ในปางก่อน คือ ผู้ที่ได้สั่งสมกุศลกรรมไว้มากในปางก่อนโดยทา
ปรารภถึงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพ จึงเป็นเหตุให้นาตนมาเกิดในที่อัน
สมควรได้คบหากับสัตบุรุษและได้ตั้งตนไว้ชอบเพราะกุศลที่ได้สร้างไว้ในกาลก่อนนี้
ธรรม ๔ อย่างนี้ ดุจล้อรถนาไปสู่ความเจริญ.
อคติ ๔
๑. ลาเอียงเพราะรักใคร่กัน เรียกว่า ฉันทาคติ
๒. ลาเอียงเพราะไม่ชอบกัน เรียกว่า โทสาคติ
๓. ลาเอียงเพราะเขลา เรียกว่า โมหาคติ
๔. ลาเอียงเพราะกลัว เรียกว่า ภยาคติ
อคติ ๔ ประการนี้ ไม่ควรประพฤติ
อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง
๑. อดทนต่อคาสอนไม่ได้ คือเบื่อต่อคาสั่งสอนขี้เกียจทาตาม
๒. เป็นคนเห็นแก่ปากแก่ท้อง ทนความอดอยากไม่ได้
๓.เพลิดเพลินในกามคุณ ทะยานอยากได้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป
๔. รักผู้หญิง
ปธาน คือความเพียร ๔ อย่าง
๑. สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน
๒. ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน
๔.อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม
สังวรปธาน ได้แก่เพียรระวังตาหูจมูกลิ้นกายใจไม่ให้เกิดความยินดียินร้ายขึ้นในเมื่อตาเห็นรูปเป็น
ต้น เพราะเมื่อไม่ระวังแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลเกิดขึ้นครอบงาใจได้
ปหานปธาน ได้แก่เพียรละความชั่วคือ กามวิตก พยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นกับใจ
เสีย
ภาวนาปธาน ได้แก่เพียรทากุศลให้เกิดขึ้นด้วยการเจริญภาวนาด้วยความมีสติมีความเพียรเป็น
ต้น
อนุรักขปธาน ได้แก่เพียรรักษาสมาธิหรือกุศลอันตนเจริญให้เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมไป
อธิษฐานธรรม คือธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อย่าง
๑. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้
๒. สัจจะ ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง
๓. จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ
๔. อุปสมะ สงบใจจากสิ่งเป็นข้าศึกษาแก่ความสงบ
อิทธิบาท คือคุณเครื่องให้สาเร็จความประสงค์ ๔ อย่าง
๑. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น
๓.จิตตะ เอาใจฝักใฝุในสิ่งนั้นไม่วางธุระ
๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น
ควรทาความไม่ประมาทในที่ ๔ สถาน
๑. ในการละกายทุจริต ประพฤติกายสุจริต
๒. ในการละวจีทุจริต ประพฤติวจีสุจริต
๓. ในการละมโนทุจริต ประพฤติมโนสุจริต
๔. ในการละความเห็นผิด ทาความเห็นให้ถูก
ปาริสุทธิศีล ๔
๑.ปาติโมกขสังวรศีล ประพฤติสารวมตามสิกขาบทวินัยและสังฆกรรม ไม่ละเมิดข้อห้ามของภิกขุ
๒. อินทรีย์สังวรศีล สารวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้าย ในเวลาเห็นรูป
ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ.
๓. อาชีวปาริสุทธิศีล เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบไม่หลอกลวงเขาเลี้ยงชีวิต
๔. ปัจจยปัจจเวกขณะ พิจารณาเสียก่อนจึงปริโภคปัจจัย ๔ คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย
และเภสัชยาคือรักษาโรค ไม่บริโภคด้วยตัณหาด้วยความมัวเมา
การคอยสารวมระวังไม่ให้เกิดความยินดียินร้ายในเมื่อรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะและธรรม
อารักขกัมมัฏฐาน
๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าที่มีในพระองค์และทรงเกื้อกูลผู้อื่น
๒.เมตตา แผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า.
๓. อสุภะ พิจารณาร่างกายตนและผู้อื่นให้เห็นเป็นไม่งาม เป็นสิ่งสกปรกของส่วนประกอบต่างๆใน
ร่างกาย
๔. มรณัสสติ นึกถึงความตายอันจะมีแก่ตน
พรหมวิหาร ๔
๑.เมตตา ความรักใคร่ปรารถนาสันติสุขแก่ทุกชีวิต ประสานโลกให้อบอุ่นร่มเย็น ให้เป็นสุข
๒. กรุณา ความสงสาร คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์
๓. มุทิตา ความพลอยยินดี เมื่อผู้อื่นได้ดี
๔. อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง ปลงใจวางเฉย เห็นเป็นธรรมดาของโลก
สติปัฏฐาน ๔
๑. กายานุปัสสนา ๒. เวทนานุปัสสนา
๓. จิตตานุปัสสนา ๔. ธัมมานุปัสสนา
กายานุปัสสนาสติ กาหนดพิจารณากายเป็นอารมณ์ว่า กายนี้ก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน
เราเขา
เวทนานุปัสสนา สติกาหนดพิจารณาเวทนา คือ สุข ทุกข์ และไม่ทุกข์ ไม่สุขเป็นอารมณ์ว่า เวทนา
นี้ก็สักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา
จิตตานุปัสสนา สติกาหนดพิจารณาใจที่เศร้าหมอง หรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ว่า ใจนี้ก็สักว่าใจ
ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เรียก
ธัมมานุปัสสนา สติกาหนดพิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลที่บังเกิดกับใจเป็นอารมณ์ว่า ธรรมนี้
ก็สักว่าธรรมไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เรียก
ธาตุกัมมัฏฐาน ๔
ธาตุ ๔ คือ มวลสสาร เนื้อแท้ วัตถุธรรมชาติดั้งเดิม ได้แก่
๑. ธาตุดิน เรียกปฐวีธาตุ มีลักษณะเข้มแข็ง เห็นเป็นรูป สัมผัสได้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ
เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า.
๒. ธาตุน้า เรียกอาโปธาตุ มีลักษณะเหลว ไหลถ่ายเท ทาให้อ่อนนุ่ม ผสมผสานกัน คือ ดี เสลด
หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้าตา เปลวมัน น้าลาย น้ามูก ไขข้อ มูตร
๓. ธาตุไฟ เรียกเตโชธาตุ มีลักษณะร้อน ยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟยังกายให้กระวน
กระวาย ไฟที่เผาอาหารให้ย่อย
๔. ธาตุลม เรียกวาโยธาตุ มีลักษณะที่พัดไปมา พัดไปทั่วร่างกาย ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดไปตาม
ตัว ลมหายใจ
ควรกาหนดพิจารณากายนี้ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ดิน น้า ไฟ ลม ประ ชุมกันอยู่
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เรียกว่า ธาตุกัมมัฏฐาน
อริยสัจ ๔
๑. ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือเหตุให้ทุกข์เกิด
๓. นิโรธ คือความดับทุกข์
๔. มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
เพราะเป็นข้อปฏิบัติติให้ถึงความดับทุกข์
มรรคนั้นมีองค์ ๘ ประการ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ
๒. สัมมาสังกัปปะ ดาริชอบ
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
๔. สัมมากัมมันตะ ทาการงานชอบ
๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ
๖. สัมมาวายามะ ทาความเพียรชอบ
๗. สัมมาสติ ตั้งสติชอบ
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ
ปัญจกะ คือ หมวด ๕
อนันตริยกรรม ๕
๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔. โลหิตุปบาท ทาร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป
๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน
กรรม๕ อย่างนี้เป็นกรรมหนัก ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพานเหมือนการต้องอาบัติปาราชิกของ
ภิกษุ ห้ามไม่ให้ทาโดยเด็ดขาด คนผู้กล้าทากรรมเหล่านี้แล้วย่อมจะกล้าทากรรมอื่นทุกอย่าง
อนันตริยกรรมนี้เนื่องจากเป็นกรรมหนักต้องให้ผลก่อนกรรมอื่นทั้งหมด
กรรม ๕ อย่างนี้ เป็นบาปอันหนักที่สุดห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ตั้งอยู่ในฐานปาราชิกของผู้ถือ
พระพุทธศาสนา ห้ามไม่ให้ทาเป็นขาด
อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕
๑. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้.
๒. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้.
๓. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้.
๔. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
.๕. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทาดีจักได้ดี ทาชั่วจักได้ชั่ว.
เวสารัชชกรณธรรม คือ ธรรมทาความกล้าหาญ ๕ อย่าง
๑. สัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
๒. สีล รักษากายวาจาให้เรียบร้อย
๓. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษามาก
๔. วิริยารัมภะ ปรารถความเพียร
๕. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้
องค์แห่งภิกษุใหม่ ๕ อย่าง
๑ . สารวมในพระปาติโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทาตามข้อที่ทรงอนุญาต
๒. สารวมอินทรีย์ คือ ระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ความยินดียินร้ายครอบงาได้ในเวลา
ที่เห็นรูปด้วยนัยน์ตาเป็นต้น
๓. ความเป็นคนไม่เอิกเกริกเฮฮา
๔. อยู่ในเสนาสนะอันสงัด
๕. มีความเห็นชอบ
องค์แห่งธรรมกถึก คือ นักเทศน์ ๕ อย่าง
๑. แสดงธรรมไปโดยลาดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ
๒. อ้างเหตุผลแนะนาให้ผู้ฟังเข้าใจ
๓. ตั้งจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง
๔. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ
๕. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือว่า ไม่ยกตนเสียดสีผู้อื่น.
ธัมมัสสวนาอนิสงส์คือ อานิสงส์แห่งการฟังธรรม ๕ อย่าง
๑. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒. สิ่งใดได้เคยฟังแล้ว แต่ไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด
๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้
๔. ทาความเห็นให้ถูกต้องได้
๕. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส
พละ คือ ธรรมเป็นกาลัง ๕ อย่าง
๑.สัทธา ความเชื่อ
๒.วิริยะ ความเพียร
๓.สติ ความระลึกได้
๔.สมาธิ ความตั้งใจมั่น
๕.ปัญญา ความรอบรู้
นิวรณ์ ๕
ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี เรียกนิวรณ์ มี ๕ อย่าง
๑. กามฉันท์ พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น เรียก
๒. พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น เรียก
๓. ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม เรียก
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ฟุูงซ่านและราคาญ เรียก
๕. วิจิกิจฉา ลังเลไม่ตกลงได้ เรียก
ขันธ์ ๕
กายกับใจนี้ แบ่งออกเป็น ๕ กอง เรียกขันธ์ ๕ คือ
๑. รูป ๒. เวทนา ๓. สัญญา ๔. สังขาร ๕. วิญญาณ
รูป คือ ธาตุ ๔ คือ ดิน น้า ไฟ ลม ประชุมกันเป็นกายนี้
เวทนา คือ ความรู้สึกอารมณ์ว่า เป็นสุข คือ สบายกาย สบายใจ หรือเป็นทุกข์ คือไม่สบายกายไม่
สบายใจ หรือ เฉย ๆ คือไม่ทุกข์ไม่สุข
สัญญา คือ ความจาได้หมายรู้ คือ จารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อารมณ์ที่เกิดกับใจได้ เรียกว่า
สังขาร. คือ เจตสิกธรรม คือ อารมณ์ที่เกิด กับใจ เป็นส่วนดี เรียกว่า กุศล เป็นส่วนชั่ว เรียก อกุศล
เป็นส่วนกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว เรียก อัพยากฤต เรียกว่า
วิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตา เป็นต้น
ฉักกะ คือ หมวด ๖
คารวะ๖ อย่าง
๑. พุทธคารวตา ความเอื้อเฟื้อ ในพระพุทธเจ้า
๒. ธัมมคารวตา ความเอื้อเฟื้อ ในพระธรรม
๓. สังฆคารวตา ความเอื้อเฟื้อ ในพระสงฆ์
๔. สิกขาคารวตา ความเอื้อเฟื้อ ในความศึกษา
๕. อัปปมาทคารวตา ความเอื้อเฟื้อ ในความไม่ประมาท
๖. ปฏิสันถารคารวตา ความเอื้อเฟื้อ ในปฏิสัน ถารคือต้อนรับปราศรัย
สาราณิยธรรม ๖ อย่าง
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เรียกว่าสาราณิยธรรม มี ๖ อย่าง คือ
๑. เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือช่วย
ขวนขวายกิจธุระของเพื่อนกันด้วยกาย มีพยาบาลภิกษุไข้เป็นต้น ด้วยจิตเมตตา.
๒. เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วย
ขวนขวายในกิจธุระของเพื่อนกันด้วยวาจา เช่นกล่าวสั่งสอนเป็นต้น ด้วยจิตเมตตา.
๓. เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ คิด
แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน.
๔. แบ่งปันลาภที่ตนได้มาแล้วโดยชอบธรรมให้แก่เพื่อนภิกษุสามเณร ไม่หวงไว้บริโภคจาเพาะผู้
เดียว
๕. รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อภิกษุสามเณรอื่น ๆ ไม่ทาตนให้เป็นที่รักเกียจของผู้อื่น.
๖. มีความเห็นร่วมกันกับภิกษุสามเณรอื่น ๆ ไม่วิวาทกับใคร ๆ เพราะมีความเห็นผิดกัน.
อายตนะภายใน ๖ หรือเรียกว่า อินทรีย์ ๖
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.
อายตะภายนอก ๖หรือเรียกว่า วิญญาณ๖
คือ อารมณ์ที่มาถูกต้อง กาย, รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรม คืออารมณ์เกิดกับ
ใจ. อารมณ์๖ ก็เรียก.
๑. อาศัยรูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้นเรียกจักขุวิญญาณ
๒. อาศัยเสียงกระทบหูเกิดความรู้ขึ้นเรียกโสตวิญญาณ
๓. อาศัยกลิ่นกระทบจมูกเกิดความรู้ขึ้นเรียกฆานวิญญาณ
๔. อาศัยรสกระทบลิ้นเกิดความรู้ขึ้นเรียกชิวหาวิญญาณ
๕. อาศัยโผฏฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้นเรียกกายวิญญาณ
๖. อาศัยธรรมเกิดกับใจเกิดความรู้ขึ้นเรียกมโนวิญญาณ .
สัมผัส ๖
อายตนะภายในมีตาเป็นต้น อายตนะภายนอกมีรูปเป็นต้น วิญญาณมีจักขุวิญญาณเป็นต้น
กระทบกัน เรียกสัมผัส มีชื่อตามอายตนะภายในเป็น ๖ คือ
๑. จักขุสัมผัส ๒. โสตสัมผัส ๓. ฆานสัมผัส
๔. ชิวหาสัมผัส ๕. กายสัมผัส ๖. มโนสัมผัส
เวทนา ๖
สัมผัสนั้นเป็น ปัจจัยให้เกิดเวทนา เป็นสุขบ้างทุกข์ บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง
มีชื่อตาม อายตนะภายในเป็น๖ คือ
๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา ๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา
๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา ๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
๕. กายสัมผัสสชาเวทนา ๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา
ธาตุ ๖
๑. ปฐวีธาตุ คือ ธาตุดิน ลักษณะแข้นแข็ง รวมตัวเป็นรูปร่าง มองเห็นและสัมผัสได้
๒. อาโปธาตุ คือธาตุน้า ลักษณะเหลว ซึมซาบหล่อเลี้ยง ทาให้อ่อนนุ่มและเอิบอิ่ม
๓. เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ ลักษณะร้อน ทาให้อบอุ่น ย่อยและเผาไหม้ ปูองกันมิให้บูดเน่า
๔. วาโยธาตุ คือ ธาตุลม ลักษณะเบา พัดเวียนไปมา เกิดความอ่อนไหว
๕. อากาศธาตุ คือ ช่องว่างมีในกาย ลักษณะช่องว่าง ถ่ายเทเคลื่อนไหวไปตลอดร่างกาย ทาให้
ยืดหยุ่น
๖. วิญญาณธาตุ คือ ความรู้อะไรได้ ลักษณะรับรู้อารมณ์ ควบคู่ระบบทางานทั่วร่างกาย
สัตตกะ คือ หมวด ๗
อปริหานิยธรรม ๗ อย่าง
หมายถึง ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝุายเดียว มี ๗ อย่าง คือ
๑ . หมั่นประชุมกันเนื่องนิตย์
๒. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และพร้อม
เพรียงช่วยกันทากิจที่สงฆ์จะต้องทา
๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้
๔. ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคาของท่าน
๕. ไม่ลุอานาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น
๖. ยินดีในเสนาสนะปุา
๗. ตั้งใจอยู่ว่า เมื่อภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข
คนผู้ตั้งอยู่ในคุณธรรม๗ ประการนี้ย่อมจะไม่มีความเสื่อมเลยมีแต่ความเจริญถ่ายเดียว
อริยทรัพย์ ๗
ทรัพย์ คือ คุณความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ เรียกอริยทรัพย์ มี ๗ อย่าง คือ
๑. สัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ.
๒. ศีล รักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย.
๓. หิริ ความละอายต่อบาปทุจริต.
๔. โอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อบาป.
๕. พาหุสัจจะ ความเป็นคนเคยได้ยินได้ฟังมามากคือจาทรงธรรมและรู้ศีลปวิทยามาก
๖. จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน.
๗. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์.
สัปปุริสธรรม ๗ อย่าง
๑. ธัมมัญญุตาความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่น รู้จักว่า สิ่งนี้ เป็นเหตุแห่งสุข สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์.
๒. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล เช่นรู้จักว่า สุขเป็นผลแห่งเหตุอันนี้ทุกข์เป็นผลแห่งเหตุอันนี้.
๓. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตนว่า เราว่าโดยชาติตระกูล ยศศักดิ์สมบัติบริวารความรู้และคุณธรรม
เพียงเท่านี้ ๆ แล้วประพฤติตนให้สมควรแก่ที่เป็นอยู่อย่างไร.
๔. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้ ประมาณ ในการแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิตแต่โดยทางที่ชอบและรู้จัก
ประมาณในการบริโภคแต่พอควร.
๕. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันสมควรในอันประกอบกิจนั้น ๆ.
๖. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประชุมชนและกิริยาที่จะต้องประพฤติต่อประชุมชนนั้น ๆ ว่า หมู่นี้เมื่อ
เข้าไปหา จะต้องทากิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ เป็นต้น.
๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคลว่า ผู้นี้เป็นคนดี ควรคบ ผู้นี้เป็นคนไม่ดี ไม่ควร
คบ เป็นต้น.
โพชฌงค์ ๗
๑. สติ ความระลึกได้ ความรู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่ปล่อยอารมณ์เลื่อนลอย
๒. ธัมมวิจยะ ความสอดส่องธรรม โดยลึกซึ้งและแยบคาย
๓. วิริยะ ความเพียร ในการบาเพ็ญสมณธรรมให้สูงยิ่งขึ้น
๔. ปีติ ความอิ่มใจ และดื่มด่าในรสแห่งโลกุตตรธรรม
๕. ปัสสัทธิ ความสงบใจและอารมณ์ ไร้กิเลสนิวรณ์
๖. สมาธิ ความตั้งใจมั่น มีจิตแน่วแน่เป็นจุดเดียว
๗. อุเบกขา ความวางเฉย จิตปราศจากความโน้มเอียงตามอารมณ์
อัฏฐกะ คือ หมวด ๘
โลกธรรม ๘
โลกธรรม คือ ธรรมที่ครอบงาสัตว์โลกอยู่ และสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้นมี ๘ อย่าง คือ
อิฏฐารมณ์ (ทุกคนต้องการ) อนิฏฐารมณ์ (ไม่มีใครอยากได้)
๑. มีลาภ มีสิ่งที่ต้องการสมใจ
๒. มียศ มีตาแหน่งหน้าที่ถูกใจ
๓. สรรเสริญ ชื่อเสียงเด่น
๔. สุข ชีวิตผาสุก สดชื่น แจ่มใส
๕. ไม่มีลาภ ไม่ได้ครอบครองของที่ห
๖. ไม่มียศ ถูกลิดรอนสิทธิและลดตาแหน่ง
๗. นินทา ถูกติเตียน กล่าวร้าย
๘. ทุกข์ ทรมานกาย และขมขื่นใจ
มรรคมีองค์ ๘
๑. สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔
๒. สัมมาสังกัปปะ ดาริชอบ คือ ดาริจะออกจากกาม ดาริในอันไม่พยาบาท, ดาริในอันไม่
เบียดเบียน
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือเว้นจากวจีทุจริต ๔
๔. สัมมากัมมันตะ ทาการงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริต ๓
๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือเว้นจากความเลี้ยงชีวิตโดยทางที่ผิด
๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือเพียรในที่ ๔ สถาน
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือระลึกในสติปัฏฐานทั้ง ๔
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ คือเจริญฌานทั้ง ๔
ในองค์มรรค ๘ นั้น
เห็นชอบ, ดาริชอบ
สงเคราะห์เข้าใน ปัญญาสิกขา
วาจาชอบ, การงานชอบ, เลี้ยงชีวิตชอบ
สงเคราะห์เข้าใน สีลสิกขา
เพียรชอบ, ระลึกชอบ, ตั้งใจไว้ชอบ
สงเคราะห์เข้าใน จิตตสิกขา
นวกะ คือ หมวด ๙
มละ คือ มลทิน ๙ อย่าง
๑. โกรธ คือความขัดเคือง ความคิดร้าย
๒. ลบหลู่คุณท่าน คือแสดงอาการเหยียดหยามต่อผู้มีอุปการะคุณ
๓. ริษยา คือความที่ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี
๔. ตระหนี่ คือหวงไม่อยากให้คนอื่นได้ดี
๕. มารยา คือทาเล่ห์กลปกปิดความจริง
๖.โอ้อวด คือทรงในความรู้ความสามารถหรือในทรัพย์สมบัติของตน
๗. พูดปด คือพูดหลอกให้คนอื่นเข้าใจผิด
๘. ปรารถนาลามก คือต้องการให้คนอื่นเข้าใจผิดในคุณสมบัติที่ไม่มีในตน
๙. เห็นผิด คือความทาดีไม่ได้ดีเป็นต้น
ทสกะ คือ หมวด ๑๐
อกุศลกรรมบถ ๑๐
จัดเป็นกายกรรม คือทาด้วยกาย ๓ อย่าง
๑.ปาณาติบาต ทาชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง คือ ฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย
๓. กาเมสุ มิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
จัดเป็นวจีกรรม คือ ทาด้วยวาจา ๔ อย่าง
๔. มุสาวาท พูดเท็จ
๕. ปิสุณา วาจาพูดส่อเสียด
๖. ผรุสวาจา พูดคาหยาบ
๗.สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
จัดเป็นมโนกรรม คือทาด้วยใจ ๓ อย่าง
๘. อภิชฌา โลภอยากได้ของเขา
๙. พยาบาท พยาบาทปองร้ายเขา
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม
กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
จัดเป็นกายกรรม คือทาด้วยกาย ๓ อย่าง
๑. ปาณาติบาต เวรมณี เว้นทาชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง คือ ฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทาน เวรมณี เว้นถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย
๓. กาเมสุ มิจฉาจาร เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม
จัดเป็นวจีกรรม คือ ทาด้วยวาจา ๔ อย่าง
๔. มุสาวาท เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ
๕. ปิสุณาวาจา เวรมณี เว้นจากการพู ดส่อเสียด
๖. ผรุสวาจา เวรมณี เว้นจากการพูดคาหยาบ
๗.สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
จัดเป็นมโนกรรม คือทาด้วยใจ ๓ อย่าง
๘. อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา
๙. อพยาบาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ
๑. ทานมัย บุญสาเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสาเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสาเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญสาเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตนแก่ผู้ใหญ่
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสาเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ
๖. ปัตติทานมัย บุญสาเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสาเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสาเร็จด้วยการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญสาเร็จด้วยการแสดงธรรม
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ การทาความเห็นให้ตรง
บุญกิริยาวัตถุแปลว่า วัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งการบาเพ็ญบุญ
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่างนี้ย่นลงใน ทาน ศีล ภาวนา ดังนี้
- ทาน (ปัตติทานมัย,ปัตตานุโมทนามัย)
- ศีล (อปจายนมัย,เวยยาวัจจมัย)
- ภาวนา (ธัมมัสสวนมัย,ธัมมเทสนามัย)
นาถกรณธรรม คือ ธรรมทาที่พึ่ง ๑๐ อย่าง
๑. ศีล รักษากายวาจาให้เรียบร้อย
๒. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้สดับตรับฟังมาก
๓. กัลยาณมิตตตา ความเป็นผู้มีเพื่อนดีงาม
๔. โสวจัสสตา ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
๕. กิงกรณีเยสุ ทักขตา ความขยันช่วยเอาใจใส่ในกิจธุระของเพื่อนภิกษุสามเณร
๖. ธัมมกามตา ความใคร่ในธรรมที่ชอบ
๗. วิริยะ เพียรเพื่อจะละความชั่วประพฤติความดี
๘. สันโดษ ยินดีด้วยผ้านุ่งผ้าห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ตามมีตามได้
๙. สติ จาการที่ได้ทาและคาที่พูดแล้วแม้นานได้
๑๐. ปัญญา รอบรู้ในกองสังขารตามเป็นจริงอย่างไร
กถาวัตถุคือถ้อยคาที่ควรพูด ๑๐ อย่าง
๑. อัปปิจฉกถา ถ้อยคาที่ชักนาให้มีความปรารถนาน้อย
๒. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคาที่ชักนาให้สันโดษยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้
๓. ปวิเวกกถา ถ้อยคาที่ชักนาให้สงัดกายสงัดใจ
๔. อสังสัคคกถา ถ้อยคาที่ชักนาไม่ให้ระคนด้วยหมู่
๕. วิริยารัมภกถา ถ้อยคาที่ชักนาให้ปรารภความเพียร
๖. สีลกถา ถ้อยคาที่ชักนาให้ตั้งอยู่ในศีล
๗. สมาธิกถา ถ้อยคาที่ชักนาให้เกิดความสงบ
๘. ปัญญากถา ถ้อยคาที่ชักนาให้เกิดปัญญา
๙. วิมุตติกถา ถ้อยคาที่ชักนาให้ทาใจพ้นจากกิเลส
๑๐.วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคาที่ชักนาให้เกิดความรู้ความเห็นในความที่ใจพ้นจากกิเลส
อนุสสติ คือ อารมณ์ควรระลึก ๑๐ ประการ
๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
๒. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม
๓. สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์
๔. สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลของตน.
๕. จาคานุสสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
๖. เทวตานุสสติ ระลึกถึงคุณที่ทาบุคคลให้เป็นเทวดา
๗. มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะมาถึงตน
๘. กายคตาสติ ระลึกทั่วไปในกาย ให้เห็นว่า ไม่งาม น่าเกลียดโสโครก
๙. อานาปานสติ ตั้งสติกาหนดลมหายใจเข้าออก
๑๐. อุปสมานุสสติ ระลึก ถึงคุณพระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ระงับกิเลสและกองทุกข์
ปกิณณกะ คือ หมวดเบ็ตเตล็ด
อุปกิเลส คือโทษเครื่องเศร้าหมอง ๑๖ อย่าง
๑. อภิชฌาวิสมโลภะ ความโลภอยากได้นั่นอยากได้นี้ แก้ด้วย ทาน จาคะ
๒. โทสะ ใจเหี้ยมโหด มุ้งร้ายหมายชีวิต แก้โดย เมตตา กรุณา พรหมวิหาร
๓. โกธะ โกรธ หงุดหงิดฉุนฉียว แก้ด้วย ขันติ เมตตาพรหมวิหาร
๔. อุปนาหะ เคียดแค้น ผูกใจเจ็บ แก้ด้วย กายคตาสติ
๕. มักขะ ลบหลู่คุณท่าน แก้ด้วย กตัญญูกตเวทิตา
๖. ปลาสะ ตีตนเสมอ คือยกตัวเทียมท่าน แก้ด้วย สัมมาคารวะ
๗. อิสสา ริษยา คือเห็นเขาได้ดี ทนอยู่ไม่ได้ แก้ด้วย มุทิตาพรหมวิหาร
๘. มัจฉริยะ ตระหนี่ ใจแคบ แก้ด้วย มรณัสสติ
๙. มายา มารยา คือเจ้าเล่ห์ แก้ด้วย สัจจะ
๑๐. สาเถยยะ โออวด แก้ด้วย วจีสุจริต
๑๑. ถัมภะ กระด้าง หัวดื้อ แก้ด้วย โสวจัสสตา
๑๒. สารัมภะ แข่งดี คนอื่นสู่ตนไม่ได้ แก้ด้วย อสุภกัมมัฏฐาน
๑๓. มานะ ถือตัว ทนงตัว แก้ด้วย นิวาต
๑๔. อติมานะ ดูหมิ่นเหยียดหยามท่าน แก้ด้วย อปจายนะ
๑๕. มทะ หลงมัวเมา สาคัญผิดเป็นชอบ แก้ด้วย จตุธาตุววัฏฐาน
๑๖. ปมาทะ ประมาท เลินเล่อ แก้ด้วย เจริญกสิณ
คิหิปฏิบัติ
คิหิปฏิบัติ คือ ธรรมปฏิบัติสาหรับคฤหัสถ์ หรือฆราวาส
กรรมกิเลส คือกรรมเครื่องเศร้าหมอง ๔ อย่าง
๑. ปาณาติบาต ฆ่าหรือทาลายสัตว์มีชีวิตถึงตาย
๒. อทินนาทาน ลักขโมยทรัพย์สินของผู้อื่นมาครองครอง
๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดจารีตประเวณีทางกามารมณ์
๔. มุสาวาท พูดเท็จ หลอกลวงให้ผู้อื่นเชื่อและเสียประโยชน์
อบายมุข คือ เหตุเครื่องฉิบหาย ๔ อย่าง
บ่อเกิดแห่งความวิบัติ จิตใจเสื่อม ครอบครัวล่มจม ไม่ควรประพฤติ
๑. ความเป็นนักเลงหญิง ประพฤติตนเป็นคนเจ้าชู้ เสเพลมั่วอยู่กับรัก ๆ ใคร่ ๆ
๒. ความเป็นนักเลงสุรา มั่วสุมกับของมึนเมา และสิ่งเสพติดให้โทษ
๓. ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน หมกมุ่นเล่นการพนันแบบผีสิ่ง
๔. ความคบคนชั่วเป็นมิตร สนิทชิดเชื้อ และถูกชั กจูง ทาชั่วทุจริต ตามเพื่อนเลว ๆ
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยนช์คือประโยชน์ในปัจจุบัน ๔ อย่าง
๑. อุฏฐานสัมปทา เพียรเอาจริงเอาจัง ในการศึกษา เลี้ยงชีพ ธุรกิจ ทุกอย่าง
๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษาคุ้มครองภารกิจมิให้บกพร่อง ประหยัดและ
คุ้มครองทรัพย์สิน
๓. กัลยาณมิตตตา คบเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่วเป็นมิตร
๔. สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตและครอบครัว พอควรแก่รายได้และทาที่จาเป็น
สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือประโยชน์ภายหน้า ๔ อย่าง
๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เชื่อมันในหลักธรรม เชื่อกฎของกรรม
๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล ประพฤติชอบด้วยกายวาจา
๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค น้าใจเสียสละ เกื้อกูลผู้อื่นให้มีสุขสบาย
๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา จิตสานึกผิดชอบชั่วดี รู้ปรัชญาชีวิตเจนจบ
มิตรปฏิรูป คือคนเทียมมิตร
คนที่มิใช่มิตรแท้ ผู้ไม่มีความจริงใจ ไม่ควรคบใกล้ชิดมีลักษณะต่าง ๆ
๑. คนปอกลอก ทาตีสนิทให้วางใจ ปลิ้นปล้อน
๒. คนดีแต่พูด กานัลด้วยลมปากหวานหว่านล้อม
๓. คนหัวประจบ ทาโอนอ่อนใจเลี้ยงลด ใจคดปากซื่อ
๔. คนชักชวนทางฉิบหาย ชักจูงให้หลงผิดจนเสียตัวเสียคน
ลักษณะคนปอกลอก ๔ อย่าง
๑. คิดเอาแต่ได้ฝุายเดียว ๒. เสียให้น้อย คิดเอาให้ได้มาก
๓. เมื่อมีภัยแก่ตัว จึงรับทากิจของเพื่อน ๔. คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว
ลักษณะของคนดีแต่พูด ๔ อย่าง
๑. เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย ๒. อ้างเอาของที่ยังไม่มีมาปราศรัย
๓. สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ ๔. ออกปากพึ่งมิได้
ลักษณะของคนหัวประจบ ๔ อย่าง
๑. จะทาชั่วก็คล้อยตาม ๒. จะทาดีก็คล้อยตาม
๓. ต่อหน้าว่าสรรเสริญ ๔. ลับหลังตั้งนินทา
ลักษณะของคนชักชวนในทางฉิบหาย ๔ อย่าง
๑. ชักชวนดื่มน้าเมา ๒. ชักชวนเที่ยวกลางคืน
๓. ชักชวนให้มัวเมาในการเล่น ๔. ชักชวนเล่นการพนัน
มิตรแท้ ๔ จาพวก
๑. มิตรมีอุปการะ ยามเดือดร้อนอาศัยได้ คราวลาเค็ญก็เกื้อหนุน
๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ น้าใจซื่อเปิดเผย เข้าถึงใจกัน เสียสละแทนกันได้
๓. มิตรแนะประโยชน์ ตักเตือนมิให้หลงผิด ปลุกปลอบให้ตั้งตนไว้ชอบ
๔. มิตรมีความรักใคร่ เสมอต้นเสมอปลาย รักและภักดีทั้งต่อหน้าและลับหลัง
ลักษณะของมิตรมีอุปการะ ๔ อย่าง
๑. ปูองกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
๒.ปูองกันทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
๓. เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพานักได้
๔.เมื่อมีธุระช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก
ลักษณะของมิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๔ อย่าง
๑ . ขยายความลับของตนแก่เพื่อน
๒ . ปิดความลับของเพื่อนไม่ให้แพร่พราย
๓ . ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ
๔ . แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้
ลักษณะของมิตรแนะประโยชน์ ๔ อย่าง
๑. ห้ามไม่ให้ทาความชั่ว
๒. แนะนาให้ตั้งอยู่ในความดี
๓. ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๔. บอกทางสวรรค์ให้
ลักษณะของมิตรมีความรักใคร่ ๔ อย่าง
๑. ทุกข์ ๆ ด้วย
๒. สุข ๆ ด้วย
๓. โต้เถียงคนที่พูดติเตียนเพื่อน
๔. รับรองคนที่พูดสรรเสริญเพื่อน
สังคหวัตถุ ๔ อย่าง
สังคหวัตถุ คือธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวน้าใจ ธรรมสาหรับผูกไมตรีเป็นจรรยาบรรณ ด้านมนุษย
สัมพันธ์ เกิดเสน่ห์ ชนะใจคน ครองใจคน
๑. ทาน แจกจ่ายแก่คนยากจน คนประสบภัยพิบัติต่าง และบริจาคเพื่อกุศลสงเคราะห์
๒. ปิยวาจา พูดจานุ่มนวล อ่อนหวาน
๓. อัตถจริยา สงเคราะห์ผู้ขัดสน และบาเพ็ญสาธารณประโยชน์
๔. สมานัตตตา วางตนเหมาะแก่สิ่งแวดล้อม ไม่ถือตัว
สุขของคฤหัสถ์ ๔ อย่าง
เป็นความสุขที่คฤหัสถ์สามัญชนปรารถนากัน
๑. สุขเกิดเพราะความมีทรัพย์สมบัติ มีกินมีใช้
๒. สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค บารุงเลี้ยงตน ครอบครัว ใช้เป็นประโยชน์
๓. สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้
๔. สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ มีอาชีพสุจริต ปราศจากพิษปลอดภัย
ความปรารถนาของบุคคลในโลก ที่ได้สมหมายด้วยยาก ๔ อย่าง
๑. ขอสมบัติจงเกิดมีแก่เราโดยทางที่ชอบ (ลาภ)
๒. ขอยศจงเกิดมีแก่เรากับญาติพวกพ้อง (ยศ)
๓. ขอเราจงรักษาอายุให้ยืนนาน (ผาสุก)
๔. เมื่อสิ้นชีพแล้ว ขอเราจงไปบังเกิดในสวรรค์ (สวรรค์)
ตระกูลอันมั่นคั่งจะตั้งอยู่นานไม่ได้เพราะสถาน ๔
๑. ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว
๒. ไม่บูรณะพัสดุที่คร่าคร่า
๓. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ
๔. ตั้งสตรีหรือบุรุษทุศีลให้เป็นแม่เรือนพ่อเรือน
ธรรมของฆราวาส ๔ อย่าง
ชีวิตชาวบ้านจะร่มเย็นเป็นสุข และรุ่งโรจน์มั่นคงเหมือนเรือนสวรรค์ เพราะคุณธรรม คือ
๑. สัจจะ น้าใจสัตย์ซื่อ จริงใจและจงรักภักดีซึ่งกันและกัน
๒. ทมะ ข่มจิต ยับยั้งชั่งใจ ปรับอารมณ์โดยเอาใจเขามาใส่ใจเรา
๓. ขันติ อดทน สู้ทนในการประกอบสัมมาชีพ อดทนต่ออุปสรรค และอดกลั้นสิ่ง สะเทือนใจ
๔. จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน
ประโยชน์เกิดแต่การถือโภคทรัพย์ ๕ อย่าง
เมื่อแสวงหาโภคทรัพย์ได้โดยทางที่ชอบแล้ว ควรที่จะมีการใช้จ่ายที่ถูกต้องตามระบบเศรษฐกิจ
แบบพุทธ ดังนี้
๑. เลี้ยงตัว มารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ ให้เป็นสุข
๒. เลี้ยงเพื่อนฝูงให้เป็นสุข
๓. บาบัดอันตรายที่เกิดแต่เหตุต่าง ๆ
๔. ทาพลี ๕ อย่าง คือ
๔.๑ ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ
๔.๒ อติถิพลี ต้อนรับแขก
๔.๓ ปุพพเปตพลี ทาบุญอุทิศให้ผู้ตาย
๔.๔ ราชพลี บริจาคเป็นหลวง มีการเสียภาษีอากรเป็นต้น
๔.๕ เทวตาพลี ทาบุญอุทิศให้เทวดา
๕. บริจาคทานในสมณพราหมณ์ พระสงฆ์ผู้ประพฤติชอบ
ศีล ๕
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทาชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาสิ่งที่ เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากดื่มน้าเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท
มิจฉาวณิชชา คือการค้าขายไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง
อาชีพซื้อชายเฉพาะสินค้าอันชาวพุทธไม่ควรดาเนินการ คือ
๑. ค้าขายเครื่องประหาร ศัสตรา อาวุธ หอก ดาบ ปืน และเครื่องดักจับสัตว์ เป็นต้น
๒. ค้าขายมนุษย์
๓. ค้าขายสัตว์เป็นสาหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหาร
๔. ค้าขายน้าเมา ๕. ค้าขายยาพิษ
สมบัติของอุบาสก ๕ ประการ
เอกลักษณ์ คือคุณสมบัติพิเศษของชาวพุทธทั้งอุบาสกและอุบาสิกา คือ
๑. ประกอบด้วยศรัทธา ๒. มีศีลบริสุทธิ์
๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือเชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล
๔. ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพุทธศาสนา
๕. บาเพ็ญบุญแต่ในพุทธศาสนา
ทิศ๖
๑. ปุรัตถิมทิศ คือทิศเบื้องหน้า มารดา บิดา
๒. ทักขิณทิศ คือทิศเบื้องขวา ครู อาจารย์
๓. ปัจฉิมทิศ คือ ทิศเบื้องหลัง บุตรภรรยา
๔. อุตตรทิศ คือทิศเบื้องซ้าย มิตรสหาย
๕. เหฏฐิมทิศ คือทิศเบื้องต่า บ่าวไพร่
๖. อุปริมทิศ คือทิศเบื้องบน สมณพราหมณ์
อบายมุข คือเหตุเครื่องฉิบหาย ๖ อย่าง
๑. ดื่มน้าเมา ๒. เที่ยวกลางคืน ๓. เที่ยวดูการเล่น
๔. เล่นการพนัน ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร ๖.เกียจคร้านทาการงาน
๑) โทษของการดื่มน้าเมา ๖ อย่าง
๑. เสียทรัพย์ ๒. ก่อการทะเลาะวิวาท ๓. เกิดโรคโดยเฉพาะโรคเอดส์
๔. ต้องถูกติเตียน ๕. ไม่รู้จักอาย ๖. ทอนกาลังปัญญา
๒) โทษของการเที่ยวกลางคืน ๖ อย่าง
๑. ชื่อว่าไม่รักษาตัว ๒. ชื่อว่าไม่รักษาลูกเมีย ๓. ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ
๔. เป็นที่ระแวงของคนทั้งหลาย ๕. มักถูกใส่ความ ๖. ได้ความลาบากมาก
๓) โทษของเที่ยวดูการละเล่นตามวัตถุที่ไปดู ๖ อย่าง
๑. ราที่ไหนไปที่นั่น ๒. ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น ๓. ดีดสีตีเปุาที่ไหนไปที่นั่น
๔. เสภาที่ไหนไปที่นั่น ๕. เพลงที่ไหนไปที่นั่น ๖. เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น
๔) โทษของการเล่นการพนัน ๖ อย่าง
๑. เมื่อชนะย่อมก่อเวร ๒. เมื่อแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป
๓. ทรัพย์ย่อมฉิบหาย ๔. ไม่มีใครเชื่อถือถ้อยคา
๕. เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน ๖. ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย
๕) โทษของการคบคนชั่วเป็นมิตรตามบุคคลที่คบ ๖ อย่างคือ
๑. นาให้เป็นนักเลงการพนัน ๒. นาให้เป็นนักเลงเจ้าชู้
๓. นาให้เป็นนักเลงเหล้า ๔. นาให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม
๕. นาให้เป็นคนลวงเขาซึ่งๆหน้า ๖. นาให้เป็นคนหัวไม้
 
 

วิชา พุทธประวัติ
ประโยชน์ของการเรียนพุทธประวัติ
๑. ได้ศรัทธา และปสาทะ
๒. ได้ทราบพระประวัติของพระองค์
๓. ได้ทราบพระจริยาวัตรการประพฤติปฏิบัติของพระองค์
๔. ได้ทิฏฐานุคติ แบบแผนที่ดีงาม
๕. นาไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อปรับปรุงชีวิตของตนเอง


ปุริมกาล
ว่าด้วยชมพูทวีปและประชาชน
ชมพูทวีป คือ ประเทศอินเดียในสมัยก่อน ในสมัยปัจจุบันแบ่งออกเป็น ๔ ประเทศ คืออินเดีย, เนปาล
,ปากีสถานและบังคลาเทศ ซึ่งอยู่ทางทิศพายัพของประเทศไทย (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) ชนชาติที่อาศัยอยู่
มี ๒ เผ่า คือ
๑. ชนชาติมิลักขะ เจ้าถิ่นเดิม อาศัยอยู่ก่อน
๒. ชนชาติอริยกะ พวกที่รุกไล่เจ้าของถิ่นเดิมออกไป ชมพูทวีป แบ่งออกเป็นจังหวัดใหญ่ ๒ จังหวัด คือ
๑. มัชฌิมชนบท หรือ มัธยมประเทศ ได้แก่ จังหวัด ส่วนกลาง
๒. ปัจจันตชนบท ได้แก่ จังหวัดปลายแดน


วรรณะ ๔
๑. กษัตริย์ มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง ศึกษาเกี่ยวกับยุทธวิธี
๒. พราหมณ์ มีหน้าที่สั่งสอนและทาพิธีกรรม ศึกษา เกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรม
๓. แพศย์มีหน้าที่ในการทานาค้าขาย ศึกษาเกี่ยวกับการเพาะปลูก
๔. ศูทร มีหน้าที่รับจ้างทาการงาน ศึกษาเกี่ยวกับการใช้แรงงาน
กษัตริย์และพราหมณ์ ถือตนเองว่าเป็นคนมีวรรณะสูง จึงรังเกียจพวกที่มีวรรณะต่า ไม่ยอมร่วมกินร่วมนอน จะสม
สู่เป็นสามีภรรยาเฉพาะในวรรณะของตนเท่านั้น ถ้าหากหญิงที่เป็นนางกษัตริย์หรือพราหมณี ไปแต่งงานกับชาย
ที่เป็นแพศย์หรือศูทรที่บุตรเกิดมาจะถูกเรียกว่า เป็นคน “จัณฑาล” เป็นที่รังเกียจของคนทั่วไป โดยถือว่าเป็น
คนกาลกิณี หรือที่คนไทยถือว่าเป็น “เสนียดจัญไร”
ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิต หรือความคิดเห็น
เกี่ยวกับชีวิตความตาย พอสรุปได้ ๒ ประการ คือ
๑. ถือว่าตายแล้วเกิด
- ตนเป็นอะไรก็เป็นอย่างนั้น
- มีการเปลี่ยนแปลงได้
๒. ถือว่าตายแล้วสูญ
- ตายแล้วสูญโดยประการทั้งปวง
- สูญเพียงบางสิ่งบางอย่าง
เกี่ยวกับความสุข ความทุกข์ พอสรุปได้ ๒ ประการ คือ
๑. สัตว์จะได้รับความสุข ความทุกข์ ก็ได้เองไม่มีเหตุปัจจัย
๒. สัตว์จะได้รับความสุข ความทุกข์ เพราะมีเหตุปัจจัย
- เหตุภายนอก มีเทวดา เป็นต้น
- เพราะเหตุภายใน คือ กรรม


สักกชนบท และ ศากยวงศ์
สักกชนบท ตั้งอยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ ณ ป่าหิมพานต์ ในดงไม้สักกะ
กบิลพัสดุ์ พระนครที่สร้างขึ้นใหม่ ที่ชื่อว่า “กบิลพัสดุ์” เพราะเหตุ ๒ ประการ คือ
๑. พระนครนี้สร้างในสถานที่ อันเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส
๒. เพราะพระนครนี้สร้างขึ้นตามคาแนะนาของกบิลดาบส
ศากยวงศ์ คือวงศ์ของศากยะที่สืบต่อกันมา เพราะเหตุ ๓ ประการ คือ
๑. เพราะกษัตริย์วงศ์นี้ตั้งอยู่ในสักกชนบท
๒. เพราะกษัตริย์ วงศ์นี้สมสู่กันเองระหว่างพี่น้อง ที่เรียกว่า “สกสังวาส”
๓. เพราะกษัตริย์วงศ์นี้ทรงถือเอาพระราชดารัสของพระเจ้าโอกกากราช ที่ออกพระโอฐชมว่า สักกา
เป็นผู้อาจหาญ มีความสามารถ การปกครอง เป็นแบบสามัคคีธรรม.


ประสูติ
เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะได้อภิเษกสมรสกับพระนางเจ้าสิริมหามายา พระราชธิดาของพระเจ้าอัญชนะ
กับพระนางยโสธราฝ่ายโกลิยะ เมื่อพระเจ้าสีหหนุทิวงคตแล้วได้สืบราชสมบัติแห่งนครกบิลพัสดุ์
จาเนียรกาลต่อมา พระโพธิสัตว์ได้จุติจากดุสิตเทวโลกมาปฏิสนธิในพระครรภ์เมื่อเวลาใกล้รุ่งคืนวัน
เพ็ญแห่งอาสาฬหมาส (วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๘ ปีระกา ) ก่อนพุทธศก ๘๐ ปี บังเกิดแผ่นดินไหวซึ่ง
ในคืนนั้นพระนางเจ้ามายาทรงพระสุบินว่า มีพญาช้างเผือกชูดอกบัวขาว เข้าสู่ครรภ์ของตน เวลาสายใกล้
เที่ยง ณ วันเพ็ญแห่งวิสาขมาส (วันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๖ ปีจอ ) ก่อนพุทธศก ๘๐ปี เวลาเช้าพระนางสิริ
มหามายาเสด็จประพาสพระราชอุทยานลุมพินีวัน อันตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ กับกรุงเทวทหะต่อกันขณะ
ประพาสเล่นอยู่เกิดประชวรพระครรภ์จะประสูติ อามาตย์ผู้ตามเสด็จจึงจัดที่ประสูติถวายใต้ร่มสาละ (รัง)เท่าที่จะ
จัดได้พระนางเจ้าได้ประสูติพระราชโอรส ณ ที่นั่นเองได้บังเกิดแผ่นดินไหว
แต่อาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์กล่าวว่า น่าจะเป็นความประสงค์ของพระนางเจ้าที่จะกลับไปประสูติ ณ ที่สกุล
เดิมของพระนาง ตามธรรมเนียมของพราหมณ์มากกว่าที่จะไปประพาสที่พระอุทยานแต่เกิดประชวรครรภ์
เสียก่อนจึงได้ประสูติที่นั่นขณะประสูติพระนางมายาประทับยืนพระหัตถ์ทรงจับกิ่งสาละพระโพธิสัตว์พอประสูติ
จากพระครรภ์แล้วดาเนินไปได้ ๗ ก้าว แล้วเปล่ง อาสภิวาจาอันเป็นบุรพนิมิตแห่งโพธิญาณว่า “อคฺโคหมสฺมิ
โลกสฺส เชฏฺโฐ เสฏฺโฐหมสฺมิ อยมนฺติมา เม ชาติ นตฺถิทานิ ปุนพฺพโว . แปลว่า เราเป็นยอด เป็นผู้เจริญที่สุด
เป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก การเกิดของเราครั้งนี้ เป็นครั้งสุดท้าย ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว ” ฝ่ายอสิตดาบส หรือ
กาฬเทวิล ดาบส ผู้คุ้นเคยแห่งราชสกุลทราบข่าวจึงได้เข้าไปเยี่ยม เมื่อเห็นพระโพธิสัตว์มีลักษณะต้องตาม


ตารามหาปุริสลักษณะจึงทานายว่ามีคติเป็น ๒ คือ
๑. ถ้าเป็นฆราวาสจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์
๒. ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกในโลก
เกิดความเคารพจึงก้มลงกราบที่พระบาททั้งคู่แล้วถวายพระพรลากลับ เมื่อประสูติได้ ๕ วันพระเจ้าสุท
โธทนะโปรดให้ประชุมพระญาติวงศ์และเสนาอามาตย์พร้อมกันเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คนมาฉันโภชนาหารแล้ว
ทานายพระลักษณะและทามงคลรับพระลักษณะ ขนานพระนามว่า” สิทธัตถกุมาร” แต่มหาชนทั่วไปมักจะเรียก
ตามพระโคตรว่า “โคตมะ“
พอประสูติได้ ๗ วันพระมารดาก็ทิวงคต พระเจ้าสุทโธทนะจึงมอบพระโพธิสัตว์ให้อยู่ในความดูแลของ
พระนางปชาบดีโคตมีพระน้านางต่อมา เมื่อพระชนมายุได้ ๗ พรรษาพระราชบิดาตรัสให้ขุดสระขึ้นภายในพระ
ราชนิเวศน์ ๓ สระ ปลูกอุบล บัวขาวสระ ๑ ปลูกปทุม บัวหลวงสระ ๑ ปลูกปุณฑริกบัวขาวสระ ๑ และเห็นว่าควร
จะศึกษาศิลปวิทยาได้แล้วจึงทรงพาไปมอบไว้ในสานักครูวิศวามิตร
เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษาเห็นควรจะมีพระชายาได้แล้ว พระราชบิดาตรัสสั่งให้สร้างปราสาทขึ้น ๓
หลัง เพื่อเหมาะแก่การอยู่ตามฤดูทั้ง ๓ ฤดู แล้วตรัสขอพระนางยโสธราหรือพิมพา พระราชบุตรีของพระเจ้าสุป
ปพุทธะกับพระนางอมิตาแห่งโกลิยวงศ์มาอภิเษกเป็นพระเทวีจนกระทั่งพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษาพระนาง
พิมพาจึงมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า “ราหุลกุมาร”


บรรพชา
ในปีที่พระชนมายุ ๒๙ พรรษานั่นเอง พระโพธิสัตว์เสด็จออกบรรพชา อะไรเป็นมูลเหตุให้เสด็จออก
บรรพชาและอาการที่เสด็จออกบรรพชานั้นเป็นอย่างไร พระอาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์มีความเห็นเป็น ๒ นัย คือ
๑. อาจารย์ผู้แต่งอรรถกถา กล่าวตามนัยมหาปธานสูตรว่า พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง
๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ อันเทวดาสร้างเนรมิตไว้ในระหว่างทางเมื่อเสด็จประพาสพระราช
อุทยาน ทั้ง ๔ วาระโดยลาดับ ทรงสังเวชสลดพระทัยเมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง ๓ ข้างต้น แต่ทรงพอ
พระทัยในการบรรพชาเพราะได้เห็นสมณะ ในวันที่พระราหุลกุมารประสูตินั่นเอง เวลากลางคืนยามดึกพระองค์
ทรงม้ากัณฐกะมีนายฉันนะตามเสด็จหนีออกจากพระราชวังถึงฝั่งแม่น้าอโนมานที แขวงมัลลชนบท ทรงตัดพระ
เมาลีด้วยพระขรรค์ แล้วอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต ณ วันเพ็ญอาสาฬหมาส (ขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๘) เวลาใกล้รุ่ง.
๒. ส่วนในมัชฌิมนิกายกล่าวว่า ทรงปรารภ ความแก่ ความเจ็บ และความตายที่มีอยู่ทั่วทุกคนไม่มีใคร
ที่จะสามารถรอดพ้นไปได้ ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงเกิดความเบื่อหน่าย คิดหาอุบายเครื่องที่จะทาให้รอดพ้น
จาก ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ซึ่งถือว่าเป็นทุกข์อย่างยิ่งของมนุษย์ทุกคนที่เกิดมา.


บรรพชา
เมื่อบรรพชาแล้ว เสด็จพักแรมอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน แขวงมัลลชนบท ๗ วัน แล้วเสด็จจาริกไปสู่มคธ
ชนบทผ่านกรุงราชคฤห์ พบพระเจ้าพิมพิสารได้สนทนาปราศรัยกันแล้ว พระเจ้าพิมพิสารทรงชวนให้อยู่ โดยจะ
มอบราชสมบัติให้กึ่งหนึ่งพระองค์ไม่ทรงรับ แสดงพระประสงค์ในการแสวงหาพระสัมมาสัมโพธิญาณ พระ
เจ้าพิมพิสารทรงอนุโมทนา และตรัสขอปฏิญญาว่า ถ้าตรัสรู้แล้วขอให้เสด็จมาโปรดบ้างพระองค์ทรงรับโดย
ดุษฎียภาพ (คือนิ่ง) จากนั้นจึงเสด็จไปสู่สานักอาฬารดาบสกาลามโคตร และอุทกดาบสรามบุตร ศึกษา
ลัทธิสมัยของท่านจนจบสมาบัติ ๘ ประการ คือ รูปฌาน๔ อรูปฌาน ๔ เมื่อเห็นว่าไม่ใช่ทางที่จะตรัสรู้จึง
ลาออกจากสานัก จาริกไปจนถึงตาบลอุรุเวลาเสนานิคมทรงเห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสาหรับการบาเพ็ญเพียรจึง
ทรง ประทับอยู่ ณ ที่นั้น
บาเพ็ญทุกกรกิริยา
พระมหาบุรุษทรงทดลองบาเพ็ญทุกกรกิริยา คือการทรมานพระวรกายให้ลาบาก ที่นักบาเพ็ญตบะ
ทั้งหลายยกย่องว่าเป็นการบาเพ็ญเพียรอย่างยอดเยี่ยม โดยการบาเพ็ญเพียร ๓ วาระ คือ
๑. วาระแรก ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ (กัดฟัน) กดพระตาลุด้วยพระชิวหา ( ใช้ลิ้นกดเพดาน ) ไว้
จนแน่น จนน้าพระเสโท ( เหงื่อ ) ไหลออกมาจากพระกัจฉะ ( รักแร้ ) เกิดทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า
๒. วาระต่อมา ทรงผ่อนและกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ( ลมหายใจเข้าออก ) เมื่อลมเดินไม่สะดวก
ทางช่องพระนาสิก ( จมูก ) และพระโอษฐ์ ( ปาก ) ก็เกิดเสียงดังอู้ที่ช่องพระกรรณ ( หู ) ทั้งสองทาให้ปวด
พระเศียร
( ศีรษะ) เสียดพระอุทร ( ท้อง ) ร้อนทั่วพระวรกาย.
๓. วาระสุดท้าย ทรงอดอาหารผ่อนเสวยแต่วันละน้อย ๆ บ้าง เสวยแต่อาหารที่ละเอียดบ้าง จนพระ
กายเหี่ยวแห้ง พระฉวีวรรณเศร้าหมอง พระอัฐิ ( กระดูก ) ปรากฏทั่วพระวรกาย เสวยทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า
ถึงกระนั้นพระองค์ก็มิได้ทรงท้อถอยเลย.


เกิดอุปมา ๓ ข้อ
ครั้งนั้นอุปมา ๓ ข้อมาปรากฏแก่พระองค์
๑. สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดก็ตาม มีกายยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความรักใคร่ในกามจะเสวย
ทุกขเวทนาอันแรงกล้า ซึ่งเกิดเพราะความเพียรหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ควรจะตรัสรู้เหมือนไม้สดที่แช่น้า ยากที่จะสี
ให้เกิดไฟได้.
๒.สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดก็ตาม แม้มีการหลีกออกจากกาม แต่ยังมีความพอใจรักใคร่ในกามอยู่ก็
ไม่ควรจะตรัสรู้ เหมือนไม้สดถึงจะไม่แช่น้าก็ยากที่จะสีให้เกิดไฟได้.
๓. สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดก็ตาม ที่มีกายหลีกออกจากกาม และละความมีใจรักใคร่ในกามเสียได้
ก็ควรจะตรัสรู้ เหมือนไม้แห้งอาจสีให้เกิดไฟได้. ดังนั้น พระองค์จึงพยายามป้องกันพระหฤทัยมิให้น้อมไปใน
กามารมณ์ ครั้นเห็นว่ามิใช่หนทางตรัสรู้จึงได้ละทุกกรกิริยานั้นเสีย กลับมาเสวยพระกระยาหารใหม่ เพื่อที่จะ
บาเพ็ญเพียรทางใจต่อไป


ในขณะที่พระองค์ทรงบาเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่นั้น ฤษี ๕ ตน คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ
และอัสสชิ รวมเรียกว่า “ปัญจวัคคีย์” เคยได้เห็นบ้างได้ยินมาบ้างว่าพระมหาบุรุษถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดา
เอกในโลก เมื่อได้ทราบข่าวพระองค์ออกบรรพชาจึงพากันออกบวชตามหามาพบขณะบาเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่จึง
คอยเฝ้าปฏิบัติ แต่เมื่อเห็นพระองค์ทรงละทุกกรกิริยาเสียจึงคิดว่า ทรงคลายความเพียรไม่มีทางที่จะตรัสรู้ได้
จึงพากันละทิ้งพระองค์ ไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันแขวงเมืองพาราณสี
พระมหาบุรุษกลับมาเสวยพระกระยาหาร จนพระวรกายกลับมีกาลังขึ้นเหมือนอย่างเดิมแล้ว ทรงเริ่ม
บาเพ็ญเพียรทางใจต่อไป นับตั้งแต่บรรพชามาประมาณ ๖ ปี จนถึงวันเพ็ญแห่งวิสาขมาส (วันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่า
เดือน๖) ตอนเช้าวันนั้นนางสุชาดาธิดาของกุฎุมพีผู้เป็นนายบ้านของชาวบ้านอุรุเวลาเสนานิคม ปรารถนาจะทา
การบวงสรวง (แก้บน)เทวดา จึงนาข้าวมธุปายาสไปยังต้นไทร (อชปาลนิโครธ)ต้นหนึ่งใกล้บ้านได้เห็นพระมหา
บุรุษประทับนั่งอยู่สาคัญว่า เป็นเทวดาจึงน้อมข้าวมธุปายาสเข้าไปถวาย พระองค์ทรงรับพร้อมทั้งถาดทองคา
แล้วทรงถือไปยังริมแม่น้าเนรัญชรา ทรงเสวยหมดแล้วทรงอธิษฐานลอยถาดเสียในกระแสน้า เวลาเย็นพระองค์
เสด็จมาสู่ต้นโพธิ์ ทรงรับหญ้าคา ๘ กามือที่โสตถิยพราหมณ์ถวายระหว่างทาง ทรงปูลาดหญ้าคาที่โคนต้นโพธิ
แล้วประทับนั่งผินพระพักตร์ ไปทางทิศบูรพาหันพระปฤษฎางค์ (หลัง)ไปทางลาต้นพระศรีมหาโพธิ์ทรงอธิฐาน
พระทัยว่า ตราบใดยังมิได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ แม้พระมัสสะ (เนื้อ) และพระโลหิต(เลือด) จะเหือดแห้ง
ไปเหลือแต่พระตจะ(หนัง) พระนหารู(เอ็น) พระอัฐิ(กระดูก)ก็ตามทีจะไม่ลุกขึ้นตราบนั้น .


ชนะมาร
สมัยนั้น พญามารได้ยกพลเสนามารมาผจญพระองค์ทรงต่อสู้ด้วยพระบารมี ๑๐ ทัศ คือ
๑. ทาน การเสียสละ
๒. ศีล การรักษากายวาจาให้ปกติ
๓. เนกขัมมะ การออกจากกามได้แก่บรรพชา
๔. ปัญญา รู้สิ่งที่ควรรู้
๕. วิริยะ ความเพียรพยายาม
๖. ขันติ ความอดทน
๗. สัจจะ ความซื่อสัตย์
๘. อธิษฐาน ความตั้งใจอย่างมั่นคง
๙. เมตตา ความรัก
๑๐. อุเบกขา ความวางเฉย
จนพญามาร ได้พ่ายแพ้ไปตอนพระอาทิตย์จะตกแล้ว พระองค์ทรงเริ่มเจริญสมถภาวนาทาจิตให้เป็นสมาธิ จน
ได้บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน แล้วยังฌานอันเป็นองค์แห่งปัญญา ๓ ประการ ให้
เกิดในยามทั้ง ๓ คือ
๑. ในปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ระลึกชาติได้
๒. ในมัชฌิมยาม ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ คือ การรู้การตาย การเกิดของเหล่าสัตว์ หรืออีกนัยหนึ่ง
เรียกว่า ทิพยจักษุญาณ คือ ตาทิพย์
๓. ในปัจฉิมยาม พระองค์ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท คือ ธรรมที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น เป็นเหตุ
และเป็นผลเนื่องกันเหมือนกับลูกโซ่ จนได้รู้แจ้งอริยสัจ คือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ คือ
๑. ทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัย เหตุที่ทาให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ ความดับเหตุที่ทาให้เกิดทุกข์
๔. มรรค หนทางที่จะดับทุกข์
แล้วจึงได้บรรลุอาสวักขยญาณ คือความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวกิเลส จิตของพระองค์ก็พ้นจากกิเลสและอา
สวะทั้งปวง ไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน อันเป็นการตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในยามที่ ๓ แห่งราตรีวิสาขมาส ก่อนพุทธศก ๕๔ ปี จึงได้พระนามบัญญัติโดยคุณนิมิตว่า “อรหัง” เป็นพระ
อรหันต์ ห่างไกลกิเลสทั้งปวง และ สัมมาสัมพุทโธ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง หา
ได้มีผู้ใดผู้หนึ่งเป็นครูอาจารย์ไม่ .


ปฐมโพธิกาล
ปฐมเทศนา และ ปฐมสาวก
สัตตมหาสถาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้นตรัสรู้ธรรมพิเศษแล้วเสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข คือ สุข
เกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลสาสวะสิ้นกาลนาน ๗ สัปดาห์ (๔๙ วัน) ณ สถานที่ ๗ แห่ง คือ
สัปดาห์ที่ ๑ หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้วเสด็จประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ ณ ภายใต้ร่มไม้
พระศรีมหาโพธิตลอด ๗ วัน ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทตามลาดับ และทวนลาดับกลับไปกลับมา ทั้งฝ่ายเกิด
และฝ่ายดับตลอด ๓ ยามแห่งราตรี แล้วเปล่งอุทาน คือตรัสออกมาด้วยความเบิกบานพระหฤทัยยามละครั้ง
สัปดาห์ที่ ๒ เสด็จไปทางทิศอิสาน ประทับยืนทอดพระเนตรต้นศรีมหาโพธิ์ โดยมิได้กระพริบพระ
เนตรตลอด ๗ วันสถานที่นั้นเรียกว่า อนิมิสสเจดีย์
สัปดาห์ที่ ๓ เสด็จกลับจากที่นั้นมาหยุดอยู่ระหว่างกลางต้นศรีมหาโพธิ์ และอนิมิสสเจดีย์เสด็จจง
กรมกลับไปกลับมา ณ ที่นั้น ตลอด ๗ วัน สถานที่นั้นเรียกว่า รัตนจงกรมเจดีย์
สัปดาห์ที่ ๔ เสด็จไปทางทิศพายัพ หรือปัจจิมทิศแห่งต้นศรีมหาโพธิ ประทับนั่งขัดบัลลังก์ทรง
พิจารณาอภิธรรมปิฎกตลอด ๗ วัน สถานที่นั้นเรียกว่า รัตนฆรเจดีย์
สัปดาห์ที่ ๕ เสด็จไปทางทิศบูรพาแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ไปยังต้นไทรต้นหนึ่ง อันเป็นที่พักอาศัย
ร่มเงาของคนเลี้ยงแพะ จึงได้ชื่อว่า “อชปาลนิโครธ” ถูกพราหมณ์คนหนึ่งผู้มีปกติชอบกล่าวคาว่า หึ หึ หรือ
หุง หุง อันเป็นคาหยาบจนติดปาก ทูลถามถึงพราหมณ์และธรรมที่ทาให้เป็นพราหมณ์
สัปดาห์ที่ ๖ เสด็จไปยังต้นจิก ซึ่งอยู่ทางทิศอาคเนย์แห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ใกล้สระ อันเป็นที่อยู่
ของพญานาคชื่อมุจลินท์ สถานที่นี้จึงได้นามว่า มุจลินท์ ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขตลอด ๗ วัน เปล่งอุทานว่า
ความสงัดเป็นความสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว เป็นต้น
สัปดาห์ที่ ๗ เสด็จไปยังต้นเกต ซึ่งได้นามว่า ราชายตนะ อยู่ทางทิศทักษิณแห่งต้นพระศรีมหา
โพธิ มีพ่อค้าสองคนพี่น้อง ชื่อ ตปุสสะ และภัลลิกะ เดินทางมาจากอุกกลชนบท ได้นาข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงมา
ถวายแล้วแสดงตนเป็นอุบาสกโดยขอถึง พระพุทธ พระธรรม เป็นสรณะที่พึ่งทางใจนับว่าเป็นอุบาสกคนแรกใน
พระพุทธศาสนาที่ถึงรัตนะ ๒ ประการก่อนใคร ( เทววาจิกอุบาสก )


ปฐมเทศนา
ครั้นล่วง ๗ วันแล้ว พระองค์เสด็จออกจากร่มไม้ราชายนตะ กลับมาประทับ ณ ร่มไม้อชปาลนิโครธอีก
ทรงพิจารณาถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วว่าเป็นบุคคลที่ยินดีในกามคุณจะรู้ตามได้ ท้อพระทัยที่จะสั่งสอน
แต่อาศัยพระมหากรุณา ส่วนพระคันถรจนาจารย์แสดงความว่า ในกาลทีพระองค์ท้อพระทัยนี้ ท้าวสหัมบดี
พรหมทราบพุทธอัธยาศัย จึงมากราบทูลอาราธนาเพื่อทรงแสดงธรรม พระองค์พิจารณาก็ทราบด้วยปัญญาว่า
หมู่สัตว์เปรียบได้กับดอกบัว ๔ เหล่า คือ
๑. อุคฆฏิตัญญู เหล่าสัตว์มีกิเลสเบาบาง มีอินทรีย์แก่กล้า มีอาการอันดี พึงสอนให้รู้ได้โดยง่าย เปรียบ
เหมือนดอกบัวที่ขึ้นพ้นน้า พอต้องแสดงอาทิตย์ก็บานทันที
๒. วิปจิตัญญู เหล่าสัตว์ผู้มีคุณสมบัติเช่นนั้นพอปานกลางได้รับการอบรมจนมีอุปนิสัยแก่กล้า ก็สามารถ
จะบรรลุธรรมพิเศษได้ เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่เสมอน้า จักบานในวันพรุ่งนี้
๓. เนยยะ เหล่าสัตว์ผู้มีคุณสมบัติเช่นนั้นยังอ่อน หาอุปนิสัยไม่ได้เลย ก็ยังควรได้รับการแนะนาในธรรม
เบื้องต่าไปก่อน เพื่อบารุงอุปนิสัย เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้า จักบานในวันต่อไป
๔. ปทปรมะ เหล่าสัตว์ที่เป็นอภัพพบุคคล ไม่ยอมรับคาแนะนา เปรียบเหมือนดอกบัวที่เริ่มแตกดอก
ใหม่ ๆ ที่อยู่ใต้น้าลึก เหมาะที่จะเป็นอาหารของเต่าและปลา ฉะนี้
ดังนั้นพระองค์จึงตกลงพระทัยที่จะแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ พระองค์ทรงพิจารณาบุคคลผู้สมควรรับ
เทศนาครั้งแรก ทรงปรารภถึง ปัญจวัคคีย์ทั้ง๕ จึง ทรงแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์แรก ชื่อ "ธัมมจักกัปปวัต
ตนสูตร"
เนื้อความแห่งพระธรรมเทศนาแห่งพระสูตรนี้ ทรงตรัสเตือนพวกปัญจวัคคีย์ ให้ตั้งใจสดับพระธรรม
เทศนาแล้ว ก่อนแต่พระองค์จะทรงแสดงธรรมนั้น พระองค์ได้ยกธรรมอันควรละ ๒ อย่าง คือ
๑. กามสุขัลลิกานุโยค คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยความสุขในกาม โดยหมกมุ่นอยู่ในกาม
๒. อัตตกิลมถานุโยค คือ การบาเพ็ญเพียรโดยการทรมานตัวให้ลาบาก ทั้ง ๒ สาย มิใช่ทางตรัสรู้
ทรงแสดงให้ดาเนินทางสายกลาง คือ มัชฌิมาปฏิปทา ไม่หย่อนเกินไป และไม่ตึงเกินไป ได้แก่มรรค
๘ ประการ อันเป็นทางที่จะให้ตรัสรู้ได้
และทรงแสดง อริยสัจ คือ ความจริงอย่างประเสริฐ ๔ ประการ คือ
๑. ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือเหตุให้ทุกข์เกิด
๓. นิโรธ คือความดับทุกข์
๔. มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์


ปฐมสาวก
พระอัญญาโกณฑัญญะ หลังจากได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้ว ธรรมะได้เกิดขึ้นแก่ท่านว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี
ความเกิด ขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา "
ท่านอุปสมบทจากพระพุทธองค์ด้วยการประทานพระดารัสว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าว
ดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทาที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด " การอุปสมบทแบบนี้เรียกว่า
“เอหิภิกขุอุปสัมปทา” เป็นอันว่าพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้เป็นปฐมสาวกองค์แรกในพุทธศาสนา และในวัน
เพ็ญขึ้น ๑๕ ค่า เดือนอาสาฬหะเป็นวันสังฆรัตนะเกิดขึ้นในโลก
ส่วนปริพาชกอีก ๔ ท่าน ได้ดวงตาเห็นธรรมด้วยธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ดแล้วประทานอุปสมบทให้
ครั้นวันแรม ๕ ค่า เดือน ๘ พระพุทธเจ้าก็ทรงประทานพระธรรมเทศนาชื่อ "อนัตตลักขณสูตร" โดย
ใจความแห่งพระธรรมเทศนานั้นว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา คือ มิใช่ตัวมิใช่
ตน เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิให้ยึดมั่นว่าเป็นเรา เป็นของเรา เมื่อจบพระธรรมเทศนา จิตของภิกษุทั้ง ๕ ก็
หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ได้สาเร็จมรรคผลเบื้องสูง คือพระอรหันต์
สรุปว่าบัดนี้มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์ คือ พระบรมศาสดา, กับพระสาวกทั้ง ๕


ส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา
เมื่อ ยสะ บุตรของเศรษฐีชาวเมืองพาราณสี เกิดความเบื่อหน่ายจากการครองเรือน ได้เดินตามทางไป
ยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พลางบ่นไปว่า "ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ " ในเวลาใกล้รุ้ง ขณะนั้นพระบรม
ศาสดาทรงเสด็จจงกรมอยู่ ทรงได้ยินเข้า จึงตรัสไปว่า "ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง เชิญทางนี้เถิด และนั่งลง
เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน” ยสะได้ยินดังนั้นจึงถอดรองเท้าเข้าไปเฝ้าถวายนมัสการ แล้วนั่งลงที่สมควรแห่งหนึ่ง
พระองค์ทรงแสดงอนุปุพีกถา ๕ ประการ คือ
๑. ทาน การเสียสละ
๒. ศีล การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย
๓. สวรรค์
๔. กามาทีนพ โทษของกาม
๕. เนกขัมมานิสงส์ อานิสงส์แห่งการออกจากกาม


แล้วจบลงด้วยการอริยสัจ ๔ พอจบพระธรรมเทศนา ยสกุลบุตรก็ได้ดวงตาเห็นธรรม เศรษฐีผู้
เป็นบิดาท่านยสะ ได้เข้าเฝ้าพระศาสดาและพระองค์ได้ทรงประทานพระธรรมเทศนาอนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔
ท่านเศรษฐีได้แสดงตนเป็นอุบาสก ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต นับว่า เป็นอุบาสกคนแรกในโลกที่
ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ(เตวาจิกอุบาสก)
ฝ่ายมารดาและภรรยาของท่านก็เหมือกัน ได้ขอถึงพระรัตนะตรัยเป็นสรณะ เป็นอุบาสิกาคนแรกใน
โลก
พระพุทธเจ้าทรงอุปสมบทแก่ท่านยสะ ด้วยการประทานพระดารัสว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอัน
เรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด " ในที่ นี้ไม่มีคาว่า "เพื่อทาที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด" เพราะย
สะเป็นพระอรหันต์ ถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้ว


สหายยสบรรพชา
สหายพระยสะที่มีชื่อ ๔ คน คือ วิมละ สุพาหุ ปุณณชิ และ ควัมปติ และที่ไม่ปรากฏชื่ออีก ๕๐ คน
ทราบข่าวยสกุลบุตบวชจึงพากันออกบวชตาม พระพุทธองค์ทรงอุปสมบทและทรงสั่งสอนจนให้สาเร็จพระ


อรหันต์
ครั้นมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลกแล้ว ๖๑ องค์ พร้อมด้วยพระศาสดา พระองค์จึงตรัสเรียกพระสงฆ์สาวก
เหล่านั้นมาเพื่อที่จะส่งไปประกาศพระศาสนา ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราได้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็น
ของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ แม้เธอทั้งหลายก็เหมือนกัน เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปตามชนบท เพื่อประโยชน์
และความสุขแก่ชนเป็นอันมาก แต่อย่าไปทางเดียวกัน ๒ องค์ จงแสดงธรรมที่มีคุณในเบื้องต้น ท่ามกลาง และ
ที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะอันบริสุทธิ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง สัตว์ทั้งหลายมีกิเลสบัง
ปัญญาดุจธุลีใยจักษุมีอยู่น้อย เพราะโทษที่มิได้ฟังธรรม จึงเสื่อมจากคุณที่จะพึงได้พึงถึง ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมีอยู่
แม้เราเองจะไปยังอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อจะแสดงธรรม”
เมื่อพระสงฆ์สาวกทั้ง ๖๐ องค์ออกประกาศพระศาสนาได้มีกุลบุตรศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างมาก
พระองค์ทรงเห็นความลาบาก ที่พระสงฆ์ได้นากุลบุตรเหล่านั้นมาบวชกับพระองค์ ภายหลังจึงทรงอนุญาตให้
พระสงฆ์เหล่านั้นให้บวชกุลบุตรผู้มีความเลื่อมในได้เอง โดยการให้กล่าวแสดงตนถึงพระรัตนตรัย ก็เป็นอัน
เสร็จพิธีการบวช การบวชแบบนี้เรียกว่า ติสรณคมนูปสัมปทา คือไตรสรณคมน์


โปรดชฏิล ๓ พี่น้อง
ส่วนพระองค์ทรงเสด็จไปยังอุรุเวลาเสนานิคม ในระหว่างทางเสด็จแวะพักที่ไร่ฝ่ายแห่งหนึ่ง ได้พบ
กุลบุตรผู้เป็นสหายกัน ๓๐ คน มีชื่อเรียกว่า “ภัททวัคคีย์” พระพุทธเจ้าก็ทรงเทศนาอนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔
โปรดจนได้สาเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้วได้ทรงส่งไปประกาศพระศาสนาต่อไป
ตาบลอุรุเวลาเสนานิคม ฝั่งแม่น้าเนรัญชราเป็นที่อาศัยของพวกชฏิล ๓ พี่น้อง ผู้พี่มีชื่อว่า อุรุเวลกัส
สปะมีศิษย์อยู่ ๕๐๐ คน คนกลางมีชื่อว่า นทีกัสสปะมีศิษย์อยู่ ๓๐๐ คน คนเล็กมีชื่อว่า คยากัสสปะมีศิษย์อยู่
๒๐๐ คน พระพุทธเจ้าทรงทรมานชฏิลเหล่านั้นจนละทิ้งลัทธิเดิม มีความศรัทธาในพระองค์ ขออุปสมบท แล้ว
พระองค์ทรงเทศนาโปรดด้วยกัณฑ์ที่มีชื่อว่า “อาทิตตปริยาสูตร”


ใจความในอาทิตตปริยาสูตรนั้นว่า
๑. อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นต้น
๒. อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์ เป็นของร้อน
๓. วิญญาณ ผัสสะ และเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะอายตนะภายใน กับอายตนะภายนอกกระทบกันเป็นของ
ร้อน
ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะไฟ ๓ กอง คือ ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะและร้อนเพราะ การเกิด
แก่ ตาย ความเศร้าโศกคราครวญ ความทุกข์ ความเสียใจ และความขัดเคืองใจ
เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว ภิกษุทั้งหมด ๑,๐๐๓ รูป ได้สาเร็จพระอรหันต์


เสด็จโปรดพระเจ้าพิมพิสาร
พระพุทธองค์ ครั้นประทับอยู่ที่คยาสีสะตามควรแก่พระอัธยาศัยแล้ว จึงพร้อมด้วยภิกษุสาวกเหล่านั้นได้
เสด็จถึงกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ ณ ลัฏฐิวัน (สวนตาลหนุ่ม)พระเจ้าพิมพิสารทราบข่าวก็ได้เสด็จออกมานมัสการ
พร้อมด้วยบริวารมากมาย บริวารเหล่านั้นได้แสดงทิฐิของตนไปต่าง ๆ เช่น บางพวกก็นมัสการ บางพวกก็เฉย
เป็นต้น พระองค์จึงให้พระอุรุเวลกัสสปะ ประกาศลัทธิเก่าของตนแก่ชนผู้เลื่อมใส ว่าไม่มีแก่นสาร หาประโยชน์
มิได้ จากนั้นพระองค์ก็แสดงอนุปปุพพีกถา และอริยสัจ ๔ ในที่สุดพระเจ้าพิมพิสาร กับบริวาร ๑๒ ส่วนได้
ดวงตาเห็นธรรม อีกส่วนหนึ่งได้ตั้งอยู่ในสรณคมน์
ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารก็ได้สาเร็จความปรารถนา ที่ทรงตั้งไว้ ๕ ประการในครั้งยังเป็นพระกุมาร คือ
๑. ขอให้ได้รับอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินในมคธรัฐนี้
๒. ขอท่านผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้รู้เองเห็นเองโดยชอบ พึงมายังแคว้นของตน
๓. ขอให้พระองค์ได้เข้าไปนั่งใกล้พระอรหันต์นั้น
๔. ขอพระอรหันต์นั้นพึงแสดงธรรมให้ฟัง
๕. ขอให้พระองค์พึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระอรหันต์นั้น
ครั้นสาเร็จความปรารถนาทั้ง ๕ ประการแล้ว พระองค์ก็ทรงถวายพระราชอุทยานเวฬุวัน (สวนไม้ไผ่)
สร้างเป็นวัดแห่งแรกในทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยแห่งภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน


อัครสาวกบรรพชา
ในกรุงราชคฤห์ ได้มีกุลบุตร ๒ คน ซึ่งเป็นสหายกัน คือ อุปติสสะ และโกลิตะ ได้พากันออกบวช
แสวงหาโมกขธรรมในสานักของสัญชัยปริพาชก เมื่อเรียนจบความรู้ของอาจารย์แล้วก็เห็นว่าไม่ใช่ทางตรัสรู้ จึง
ได้สัญญากันว่า ใครได้พบอมตธรรมก่อนจงบอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง วันหนึ่งท่านอุปติสสะ ได้พบพระอัสสชิ และได้
ฟังธรรมจากท่านจนได้ดวงตาเห็นธรรม จึงได้กลับไปบอกโกลิตะ และได้พาบริวารมาบวชเป็นสาวกของพระ
พุทธองค์ เมื่อท่านทั้ง ๒ บวชแล้ว ภิกษุสหธรรมิกส่วนมาก เรียกท่านอุปติสสะว่า สารีบุตร ด้วยเหตุที่ท่านเป็น
บุตรของนางสารี เรียกท่านโกลิตะว่าโมคคัลลานะ ด้วยเหตุเป็นบุตรนางโมคคัลลี ภิกษุผู้เป็นบริวารบวชแล้วไม่
นานได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้วบาเพ็ญเพียร ก็ได้สาเร็จพระอรหันต์ก่อน
ฝ่ายท่านโมคคัลลานะ บวชได้ ๗ วันไปทาความเพียรอยู่ที่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ อ่อนใจนั่ง
โงกง่วงอยู่ พระพุทธองค์เสด็จไปที่นั้น ทรงแสดงอุบายระงับความง่วง ๘ ประการ ท่านพระโมคคัลลานะได้สดับ
อุบายแก้ง่วง และปฏิบัติตามพระโอวาทที่ทรงสั่งสอนก็ได้สาเร็จพระอรหันต์ในวันนั้นเอง ภายหลังได้รับยกย่อง
เป็นอัครสาวกฝ่ายซ้าย เลิศทางมีฤทธิ์


ส่วนท่านพระสารีบุตร อุปสมบทแล้วได้กึ่งเดือนนั่งถวายงานพัดพระบรมศาสดาที่ถ้าสุกรขาตา เชิง
เขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ ได้ฟังพระธรรมเทศนาอันเป็นอุบายแห่งการละทิฏฐิ ๓ ประการแล้วเวทนาปริคคหสูตร
(การกาหนดเวทนา ๓ ประการ ) ที่พระองค์ทรงแสดงแก่ปริพาชก ชื่อ ทีฆนขะ (มีเล็บยาว) อัคคิเวสสนโคตร ก็
ใช้ปัญญาพิจารณาไปตามกระแสพระธรรมเทศา จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทานได้สาเร็จเป็น
พระอรหันต์ ส่วนทีฆขนขปริพาชกนั้น ได้เพียงดวงตาเห็นธรรมหมดความสงสัยในพระพุทธศาสนาทูลสรรเสริญ
พระธรรมเทศนาแล้วแสดงตนเป็นอุบสกแล้วหลีกไป ส่วนพระสารีบุตรภายหลังได้รับยกย่องเป็นอัครสาวกฝ่าย
ขวา เลิศทางปัญญา


มัชฌิมโพธิกาล
ทรงบาเพ็ญพุทธกิจในมคธรัฐ
ประทานอุปสมบทแก่พระมหากัสสปะ คราวหนึ่งพระพุทธองค์เสด็จจาริกโปรดประชาชนในมคธชนบท
ประทับที่ใต้ร่มไทร เรียกว่า หุปุตตกนิโครธ ในระหว่างกรุงราชคฤห์และนาลันทาต่อกันว่า ในเวลานั้น ปิปผลิ
มาณพ กัสสปโคตร เบื่อหน่ายการครองเรือนถือเพศบรรพชิตบวชอุทิศพระอรหันต์ในโลก เที่ยวจาริกมาถึงที่นั้น
พบพระพุทธองค์เกิดความเลื่อมใส นับถือพระองค์เป็นศาสดาของตนแล้วทูลขอบวช พระองค์ทรงประทาน
อุปสมบทให้ โดยการประทานโอวาท ๓ ข้อว่า
๑. “กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอายและความยาเกรงไว้ในภิกษุทั้งที่เป็นผู้เฒ่า ผู้
ปานกลาง และผู้ใหม่อย่างแรงกล้า”
๒. “ธรรมใดก็ตาม ที่ประกอบไปด้วยกุศล เราจักเงี่ยหูลงฟังธรรมนั้น และพิจารณาเนื้อความแห่งธรรม
นั้น”
๓. “เราจักได้สติที่เป็นไปในกาย คือพิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์ (กายคตาสติ)” ครั้นทรงสั่งสอนอย่าง
นี้ ก็เสด็จหลีกไป
การบวชแบบนี้เรียกว่า “อุปสมบทด้วยรับโอวาท ๓ ข้อ”
ท่านพระปิปผลิ ได้ฟังพุทธโอวาทที่ทรงสั่งสอนแล้ว บาเพ็ญเพียรไม่ช้านัก ในวันที่แปดแต่อุปสมบท ก็
ได้สาเร็จพระอรหันต์ เมื่อท่านเข้ามาสู่พระธรรมวินัย สหธรรมิกทั้งหลายมักเรียกชื่อท่านว่า “พระมหากัสสปะ”
แม้ท่าน มหากัจจายนะ ก็ได้มาอุปสมบทโดยเอหิภิกขุอุปสัมปทาจากพระบรมศาสดา ณ กรุงราชคฤห์
มหาสันนิบาต แห่งสาวกครั้งหนึ่ง เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์
เมืองหลวงแห่งมคธรัฐ ได้มีการประชุมพระสาวกครั้งใหญ่คราวหนึ่ง เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” แปลว่าการ
ประชุมมีองค์ ๔ คือ
๑. พระสาวก ๑,๒๕๐ องค์ มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย
๒. พระสาวกเหล่านั้นทั้งหมด ล้วนเป็นพระอรหันตขีณาสพทั้งสิ้น
๓. พระสาวกเหล่านั้น ล้วนบวชด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาทั้งสิ้น (คือมีพระพุทธองค์เป็นอุปัชฌาย์)
๔. วันนั้น เป็นวันพระจันทร์เพ็ญเต็มดวงเสวยมาฆฤกษ์ (เพ็ญเดือน ๓ ขึ้น ๑๕ ค่า ) เมื่อองค์ ๔ มา
ประชุมพร้อมกันเช่นนี้ พระพุทธองค์จึงทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” แด่พระสาวกเหล่านั้น
ใจความใน โอวาทปาติโมกข์ ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจหรือหลักพระพุทธศาสนา คือ
๑. ขันติ คือความอดทน เป็นตบะอย่างยอด ท่านผู้รู้กล่าวนิพพานว่าเป็นยอด บรรพชิตผู้ฆ่า ผู้
เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่า เป็นสมณะ
๒. การไม่ทาบาป (ความชั่ว) ทั้งปวง การยังกุศล (ความดี) ให้บริบูรณ์ และการทาจิตของตนให้ผ่อง
ใส เป็นศาสนธรรมคาสอนของท่านผู้รู้
๓. การไม่พูดค่อนขอดกัน การไม่ประหัตประหารกัน ความสารวมในปาติโมกข์ การรู้จักประมาณใน
การบริโภคอาหาร การพอใจที่นอนที่นั่งอันสงัด การประกอบจิตไว้โดยยิ่ง เป็นคาสอนของท่านผู้รู้
ทรงอนุญาตเสนาสนะ
ตอนต้นพุทธกาล ภิกษุสงฆ์สาวก ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เมื่อพระเจ้าพิมพิสารถวายเวฬุวันให้
เป็นที่ประทับพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ต่อมาเศรษฐีเมืองราชคฤห์เลื่อมใสจึงถวายวิหารแด่พระภิกษุสงฆ์ พระองค์
ทรงอาศัยเหตุนี้จึงทรงอนุญาตเสนาสนะ คือที่นอนที่นั่ง ๕ ชนิด ได้แก่
๑. วิหาร คือกุฏิมีหลังคาและปีกทั้งสองข้างอย่างปกติ
๒. อัฑฒโยคะ ได้แก่ โรงหรือร้านที่มุงด้านเดียว เช่นโรงโขน โรงลิเก เป็นต้น
๓. ปราสาท บ้านหรือตึกปลูกซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ตั้งแต่ ๒ ชั้นขึ้นไป
๔. หัมมิยะ ได้แก่ตึกหลังคาตัด ใช้หลังคาเป็นที่ตากอากาศได้
๕. คูหาได้แก่ถ้า


ทรงแสดงวิธีทาปุพพเปตพลี
พวกพราหมณ์มีธรรมเนียมเซ่นและทาทักษิณาอุทิศบุรพบิดรของเขาเรียกว่า “ศราท” การเซ่นด้วยก้อน
ข้าว เรียกว่า “สปิณฑะ” แปลว่า ผู้ร่วมก้อนข้าว สมาโนทก แปลว่า ผู้ร่วมน้า
ส่วนพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ทาบุญอุทิศแก่เปรตชนคือ ผู้ตายทั่วไป โดยไม่จากัดเพียงบุรพบิดร
เท่านั้น จะเป็นเพื่อนมิตรสหายหรือใครก็ได้ โดยการกระทาทั้ง ๒ อย่าง คือทั้งสปิณฑะและสมาโนทก โดย
นาไปบริจาคในสงฆ์ แทนที่จะวางให้สัตว์มีกา เป็นต้น กิน แล้วกรวดน้าอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่เปรตชนเหล่านั้น
ทักษิณาที่อุทิศมตกทาน แปลว่า การถวายทานอุทิศให้ผู้ตายบ้าง ส่วนทักษิณาที่อุทิศเฉพาะบุรพบิดร เรียกว่า
เปรตชนมีความหมายเป็น ๒ นัย คือ
๑. หมายถึงผู้ที่ตายไปแล้ว
๒. หมายถึงสัตว์ที่ไปเกิดในปิตติวิสัย
เปรตจะได้รับผลทานเพราะลักษณะ ๓ ประการ คือ
๑. ทายกบริจาคทานแล้วต้องอุทิศส่วนบุญไปให้
๒. ปฏิคาหกผู้รับทานเป็นทักขิเณยยะ คือ ผู้ควรที่จะรับทาน
๓. เปรตชนนั้นได้รับส่วนบุญแล้วต้องอนุโมทนา
ทายกผู้ทาทักษิณา แสดงออก ๓ ประการ คือ
๑. ได้แสดงญาติธรรมให้ปรากฏ
๒. ได้ทาการบูชา คือยกย่องเปรตชน
๓. ได้เพิ่มกาลังให้แก่ภิกษุทั้งหลาย เป็นอันได้บุญมิใช่น้อย


ทรงมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่
ทรงให้บวชราธพราหมณ์ โดยการให้พระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์ และตรัสให้เลิกการอุปสมบทด้วยไตร
สรณคมนูปสัมปทา ทรงอนุญาตให้อุปสมบทด้วยวิธีประชุมสงฆ์ ตั้งญัตติ ๑ ครั้ง และสวดอนุสาวนา (สวด
ประกาศ) ๓ ครั้ง วิธีนี้ เรียกว่า “ญัตติจตุตถกรรมวาจา” แม้ในสังฆกรรมอื่น ๆ ก็ทรงมอบอานาจให้แก่สงฆ์
ทรงสอนผ่อนคดีธรรมคดีโลก
พระพุทธองค์ทรงเปลี่ยนแปลงการไหว้ทิศทั้ง ๖ ของสิงคาลมาณพมาใช้ในหลักพระพุทธศาสนาว่า
๑. ทิศบูรพา อันเป็นทิศเบื้องหน้า ได้แก่ มารดาบิดา
๒. ทิศทักษิณ อันเป็นทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์
๓. ทิศปัจจิม อันเป็นทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตรภรรยา
๔. ทิศอุดร อันเป็นทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย
๕. เหฏฐิมทิศ อันเป็นทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้าง คนใช้
๖. อุปริมทิศ อันเป็นทิศเบื้องบน ได้แก่ สมณพราหมณ์
ผู้ที่จะไหว้ทิศทั้ง ๖ ควรเว้นสิ่งต่อไปนี้ คือ
๑. กรรมกิเลส คือการงานอันเศร้าหมอง ๔ อย่าง
๒. อคติ คือความลาเอียง ๔ อย่าง
๓. อบายมุข คือทางหายนะ ๖ อย่าง


เสด็จสักกชนบท
พระเจ้าสุทโธทนะ พุทธบิดา ทรงทราบว่า พระบรมศาสดา ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ แล้วเสด็จ
จาริกแสดงธรรมสั่งสอนบรรพชิตคฤหัสถ์มาโดยลาดับ เสด็จประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ มีพระราชประสงค์จะทรง
ได้เห็น จึงตรัสสั่งกาฬุทายีอมาตย์ให้ไปเชิญอาราธนาพระพุทธองค์
พระพุทธองค์ทรงใช้เวลาเสด็จอยู่ ๒ เดือน จึงเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์แคว้นสักกชนบท ประทับอยู่ที่นิโครธาราม
พร้อมด้วยภิกษุบริวาร ๒ หมื่นองค์ ทรงทาลายทิฏฐิมานะของพวกศากยะกษัตริย์ จนเป็นเหตุมหัศจรรย์ ฝน
โบกขรพรรษตกลงมาในสมาคมนั้น พวกภิกษุสงสัยทูลถาม จึงได้ตรัสเวสสันดรชาดก และได้ทรงตรัสกิจวัตร
ของสมณะ กับทั้งทรงตรัสพระธรรมเทสนาโปรดพระเจ้า สุทโธทนะจนได้บรรลุโสดาปัตติผล
ในครั้งหนึ่ง เศรษฐีคฤหบดี ชาวเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ชื่อสุทัตต์ ได้ไปกรุงราชคฤห์ด้วยภารกิจ
บางอย่างได้ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าทรงเสด็จอยู่ ในเมืองนี้ จึงได้เข้าไปเฝ้า พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมอนุ
ปุพพีกถาและอริยสัจ ๔ ให้ฟัง ท่านเศรษฐีก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล แล้วกราบทูลแสดงตนเป็นอุบาสก เป็นผู้มี
ใจบุญ มีศรัทธาถวายทานในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก และได้ให้ทานแก่คนยากไร้อนาถา ภายหลังได้
เนมิตตกนามว่า “อนาถปิณฑิกะ” แปลว่า ก้อนข้าวสาหรับคนอนาถา.


ปัจฉิมโพธิกาล
ทรงปลงอายุสังขาร
เมื่อพระองค์เสด็จพระพุทธดาเนินสั่งสอนเวไนยสัตว์ ในคามนิคมชนบทราชธานีต่างๆ มีเมืองราชคฤห์
เป็นต้น ประดิษฐานพุทธสาวกมณฑลให้เป็นไปนับการกาหนดแต่ได้ตรัสรู้ล่วงมาได้ ๔๔ พรรษา ครั้นพรรษาที่
๔๕ เสด็จจาพรรษา ณ บ้านเวฬุคาม เขตเมืองเวสาลี ภายในพรรษา กาลนั้นพระองค์ทรงพระประชวรชราพาธ
กล้า เกิดทุกขเวทนาใกล้มรณชนม์พินาศ แต่พระองค์ทรงดารงค์พระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนา
ด้วยอธิวาสนขันติ เห็นว่ายังมิควรที่จะปรินิพพานจึงทรงขับไล่บาบัดอาพาธนั้นให้สงบระงับไป ทรงสั่งสอนภิกษุ
สงฆ์ในเอกายนมรรค คือ สติปัฏฐานทั้ง ๔ และปกิณณกเทศนาตามสมควร
จนกาลล่วงไปถึงมาฆปุณณมี แห่งฤดูเหมันต์ (ขึ้น ๑๕ ค่าเดือน ๓ ) เวลาเช้าวันนั้น พระองค์ทรงถือ
บาตรและจีวร เสด็จโคจรบิณฑบาต ณ เมืองเวสาลี ครั้นหลังเวลาภัตตาหารดารัสสั่งให้พระอานนท์ถือเอาผ้า
นิสีทนะสาหรับรองนั่ง เสด็จไปยังปาวาลเจดีย์ เพื่อสาราญพระอิริยาบถในเวลากลางวัน พระพุทธองค์ทรงพระ
ประสงค์จะให้พระอานนท์กราบทูลอาราธนาให้ดารงค์อยู่ชั่วอายุกัปหนึ่ง หรือเกินกว่าอายุกัปจึงได้ตรัสโอภาส
ปริยายนิมิตอันชัดถึง ๓ ครั้ง แสดงอานุภาพแห่งอิทธิบาทภาวนา สามารถจะให้ท่านผู้เจริญดารงค์อยู่ได้อายุกัป
หนึ่ง หรือเกินกว่าอายุกัป แต่มารเข้าดลใจท่านพระอานนท์จึงไม่สามารถรู้ทันมิได้อาราธนา พระองค์จึงทรงขับ
พระอานนท์ไปเสียจากที่นั่น ครั้นท่านพระอานนท์หลีกไปไม่ช้า มารได้เข้าไปเฝ้ายกเนื้อความแต่ปางหลังเมื่อ
เริ่มแรกตรัสรู้และกราบทูลว่า “บัดนี้ ปริสสมบัติและพรหมจรรย์ก็สมบูรณ์ดังพุทธประสงค์ทุกประการแล้ว ขอพระ
ผู้มีพระภาคจงทรงปรินิพพานเถิด บัดนี้เป็นกาลที่จะปรินิพพานแห่งพระผู้มีพระภาคแล้ว ” พระองค์จึงตรัสว่า
“ดูก่อนมารผู้มีบาป เธอจงมีความขวนขวายน้อยเถิด ความปรินิพพานแห่งตถาคตจักมีในไม่ช้า แต่นี้ไปอีก ๓
เดือน ตถาคตจักปรินิพพาน”
ลาดับนั้น พระพุทธองค์ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ ปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์นั้น ก็เกิดมหัศจรรย์
แผ่นดินไหวใหญ่ และขนลุกชูชันสยองเกล้าน่าสะพึงกลัว ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือลั่นในอากาศ
เหตุเกิดแผ่นดินไหว ๘ ประการท่านพระอานนท์เกิดพิศวงความมหัศจรรย์นั้นจึงเข้าไปถวายบังคมแล้ว
ทูลถาม พระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า เหตุที่จะให้แผ่นดินไหวมี ๘ ประการ คือ
๑. ลมกาเริบ
๒. ท่านผู้มีฤทธิ์บันดาล
๓. พระโพธิสัตว์จุติจากดุสิตลงสู่พระครรภ์
๔. พระโพธิสัตว์ประสูติ
๕. พระโพธิสัตว์ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
๖. ตถาคตแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
๗. ตถาคตปลงอายุสังขาร
๘. ตถาคตปรินิพพาน
สถานที่ทรงกระทานิมิตโอภาส ๑๖ ตาบล ท่านพระอานนท์ได้ทราบว่า พระพุทธองค์ทรงปลงอายุ
สังขาร จึงกราบขอทูลอาราธนาว่า “ขอพระผู้มีพระภาคจงดารงอยู่กัปหนึ่งเถิด เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” พระองค์ทรงตรัสห้ามว่า “อย่าเลย อานนท์ ท่าน
อย่าได้อ้อนวอนตถาคตเลยบัดนี้มิใช่กาลเพื่อจะวิงวอนเสียแล้ว” เมื่อตถาคตทานิมิตโอภาส หากอานนท์พึง
วิงวอนไซร้ ตถาคตพึงห้ามเสีย ๒ ครั้ง ครั้นวาระที่ ๓ ตถาคตจะรับอาราธนา แต่อานนท์มิได้วิงวอน เพราะเหตุ
นั้นจึงเป็นความผิดของอานนท์ผู้เดียว สถานที่ตถาคตทานิมิตโอภาส ๑๖ ตาบล คือ เมืองราชคฤห์ ๑๐
ตาบล ได้แก่
๑. ภูเขาคิชฌกูฏ ๒. โคตมนิโครธ
๓.เหวที่ทิ้งโจร ๔ .ถ้าสัตตบรรณคูหา
๕.กาฬศิลา เชิงภูเขาอิสิคิริบรรพต ๖.เงื่อมสัปปิโสณฑิกา ณ สีตวัน
๗.ตโปทาราม ๘.เวฬุวัน
๙.ชีวกัมพวัน ๑๐.มัททกุจฉิมิคทายวัน
และเมืองเวสาลี ๖ ตาบลได้แก่
๑.อุเทนเจดีย์ ๒.โคตมกเจดีย์
๓.สัตตัมพเจดีย์ ๔.พหุปุตตเจดีย์
๕.สารันททเจดีย์ ๖. ปาวาลเจดีย์


ปัจฉิมบิณฑบาต
เมื่อพระองค์ตรัสแก่พระอานนท์แล้ว จึงเสด็จพุทธดาเนินไปยังกูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ให้พระอานนท์
เรียกประชุมภิกษุสงฆ์ด้วยอภิญญาเทสิตธรรม ธรรมที่ทรงแสดงด้วยปัญญาอันยิ่ง ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ เพื่อประโยชน์สุขเกื้อกูลแก่เทพยดา
และมนุษย์ทั้งหลาย เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลกและทรงสั่งสอนสังเวคกถาและอัปปมาทธรรม
ครั้นรุ่งเช้า ทรงนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาทยังเมืองเวสาลี ครั้นปัจฉาภัตกลับจาก
บิณฑบาตแล้ว ทอดพระเนตรเมืองเวสาลีเป็น “นาคาวโลก” คือทรงกลับพระองค์ (กลับหันหลัง) เหมือนกับ
ช้าง ทอดพระเนตร อันเป็นกาการแห่งมหาบุรุษ ตรัสกะพระอานนท์ว่า “ดูก่อนอานนท์ตถาคตเห็นเมืองเวสาลี
ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย เรามาพร้อมกันไปบ้านภัณฑุคามกันเถิด ” พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ประทับอยู่ ณ บ้านภัณฑุ
คามนั้น ตรัสเทศนาอริยธรรม ๔ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ ต่อแต่นั้นก็เสด็จไปยังบ้านหัตถีคาม
อัมพคาม ชัมพุคาม และโภคนคร ประทับอยู่ที่อานันทเจดีย์ ตรัสมหาปเทศ ๔ ฝ่ายพระสูตรว่า “ถ้าจะมีผู้ใดมา
อ้างว่า นี้เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์ เธออย่าพึงรีบเชื่อและอย่างถึงปฏิเสธก่อน พึงเรียนบทพยัญชนะให้
แน่นอนแล้วพึงสืบสวนในสูตร พึงเทียบในวินัย ถ้าสอบไม่ตรงกันในสูตร เทียบกันไม่ได้ในวินัย พึงเข้าใจว่านั้น
ไม่ใช่คาของพระผู้มีพระภาค เธอผู้นั้นรับมาผิด จามาเคลื่อนคลาด ถ้าสอบกันได้เทียบกันได้ นั่นเป็นคาของพระ
ผู้มีพระภาค” เป็นต้น


เมื่อวันคืนล่วงไปใกล้กาหนดจะปรินิพพาน พระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ บริวารได้เสด็จไปยังเมืองปาวา
นคร ประทบอยู่ที่สวนมะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตร นายจุนทกัมมารบุตร ทราบข่าวจึงไปเฝ้า ได้ฟังธรรมีกถา
แล้วเลื่อมใส จึงได้กราบทูลนิมนต์เพื่อฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์บริวารแล้วลากลับ
รุ่งขึ้นเวลาเช้า อันเป็นวันวิสาขปุรณมี (ขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๖ ) พระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์บริษัท เสด็จ
ไปถึงบ้านของนายจุนทะ ประทับ ณ พุทธอาสน์แล้ว ตรัสเรียกหานายจุนทะแล้วว่า “ดูกร จุนทะ สูกรมัททวะ
(เห็ดชนิดหนึ่ง) ที่เธอได้จัดแจงไว้นั้น จงอังคาส(ถวาย) แต่ตถาคตเท่านั้น ส่วนของเคี้ยวของฉันอันประณีต เธอ
จงอังคาสภิกษุสงฆ์เถิด” นายจุนทะทาตามพระพุทธประสงค์ เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว ตรัสให้นายจุนทะนาสูกรมัทท
วะไปฝังเสีย มิให้ผู้ใดบริโภค ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วเสด็จกลับ


ทรงพระประชวร
เมื่อพระพุทธองค์ทรงเสวยภัตตาหารของนายจุนทะแล้ว ก็เกิดอาพาธอย่างแรงกล้า ทรงพระประชวรลง
พระโลหิต (อาเจียนเป็นเลือด) ใกล้แต่มรณทุกข์ ทรงมีพระสติสัมปชัญญะทรงอดกลั้นด้วยอธิวาสนขันติ จึงตรัส
แก่พระอานนท์ว่า “อานนท์ เรามาพร้อมกันเถิด เราจักไปเมืองกุสินารา ” เมื่อเสด็จมากลางทางทรงเหน็ดเหนื่อย
ทรงแวะเข้าประทับร่มไม้แห่งหนึ่งตรัสให้พระอานนท์ปูผ้าสังฆาฏิพับเป็น ๔ ชั้น แล้วประทับนั่ง ตรัสให้นาน้ามา
ให้ดื่ม ท่านอานนท์นาบาตรไป น้าที่ขุ่นเพราะเกวียน ๕๐๐ เล่ม ก็กลับใส พระอานนท์ตักน้านามาถวายแล้วกราบ
ทูลถึงความมหัศจรรย์
ขณะนั้นบุตรแห่งมัลลกษัตริย์ชื่อปุกกุสะ เคยเป็นศิษย์แห่งสานักอาฬารดาบส กาลามโคตรร่วมกัน เดิน
ผ่านมาเห็นเข้าจาได้ จึงเข้าไปเฝ้า ได้ฟังสันติวิหารธรรม เกิดเลื่อมใส ได้ถวายผ้าสิงคิวรรณ ๑ คู่ แล้วหลีกไป
เมื่อพระองค์ทรงนุ่งห่ม ปรากฏว่าผิวพรรณงามยิ่งนักเป็นที่น่ามหัศจรรย์ พระอานนท์กราบทูลสรรเสริญ พระองค์
ตรัสว่า “ผิวกายของตถาคตจะผุดผ่องสวยงามยิ่งใน ๒ กาล คือ ในราตรีที่จะได้ตรัสรู้ และในราตรีที่จะ
ปรินิพพาน ดูก่อนอานนท์ ในยามสุดท้ายแห่งราตรีวันนี้ ตถาคตจักปรินิพพาน ณ ระหว่างไม้รังทั้งคู่ที่สาลวโน
ทยานเมืองกุสินารา อานนท์ เรามาไปยังแม่น้ากกุธานทีกันเถิด”
บิณฑบาต มีผลมาก ๒ คราว คือ
๑. บิณฑบาตที่พระตถาคตเสวยแล้วตรัสรู้
๒. บิณฑบาตที่พระตถาคตเสวยแล้วปรินิพพานมีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ว่าบิณฑบาตทั้งลายอื่น ๆ กรรมที่ให้อายุ วรรณะ สุข ยศ สวรรค์ และความเป็นอธิบดี
ต่อแต่นั้นเสด็จข้ามแม่น้าหิรัญญวดีถึงสาลวโนทยานเมื่องกุสินารา ตรัสให้พระอานนท์ตั้งเตียงหันศีรษะ
ไปทางทิศอุดร ระว่างต้นไม้รังทั้งคู่ ทรงสาเร็จสีหไสยา มีพระสติสัมปชัญญะ แต่มิได้มีมนสิการที่จะลุกขึ้น
เพราะเป็นการบรรทมครั้งสุดท้าย เรียกว่าอนุฏฐานไสยา
สังเวชนียสถาน ๔ ตาบล
สังเวชนียสถาน คือ สถานที่พุทธบริษัทควรจะเห็น ควรจะดู และควรให้เกิดความสังเวชแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธา
๑. สถานที่พระตถาคตเจ้าประสูติ (ลุมพินีวัน)
๒. สถานที่พระตถาคตเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (อุรุเวลาเสนานิคม)
๓. สถานที่พระตถาคตเจ้าแสดงพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (อิสิปตนมฤคทายวัน)
๔. สถานที่พระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ (สาลวโนทยาน)
ถูปารหบุคคล
คือบุคคลที่ควรแก่การประดิษฐานไว้ในสถูป ๔ จาพวก คือ
๑. พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า
๓. พระอรหันตสาวก ๔. พระเจ้าจักรพรรดิ์
โปรดสุภัททปริพาชก
มีปริพาชกคนหนึ่งชื่อว่าสุภัททะได้ขอเข้าเฝ้า พระอานนท์ทัดทานไว้ถึง ๓ ครั้ง พระองค์ทรงได้สดับ จึง
ตรัสให้เข้าเฝ้า สุภัททปริพาชกทูลถามถึงเรื่องครูทั้ง ๖ คือ ปูรณกัสสป มักขลิโคศาล อชิตเกสกัมพล ปุกุทธกัจ
จายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร นิครนถนาฏบุตร ว่าตรัสรู้ด้วยปัญญาจริงหรือไม่ พระองค์ตรัสตอบว่า มรรคมีองค์ ๘ มี
อยู่ ในธรรมวินัยใด พระอริยบุคคลย่อมมีในธรรมวินัยนั้น แต่มรรคมีองค์ ๘ มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น หากว่าชน
ทั้งหลายยังปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่ไซร้ (ปฏิบัติตามอริยมรรค ๘ ) โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ สุภัททะเกิด
เลื่อมใสทูลขอบวช เมื่อบวชแล้วปลีกตนออกจากหมู่คณะบาเพ็ญเพียรไม่ช้าก็สาเร็จพระอรหันต์ ก่อนที่
พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน นับเป็นพระอรหันตสาวกองค์สุดท้าย
ประทานพระโอวาท
พระพุทธองค์ตรัสประทานโอวาทแก่ภิกษุบริษัทว่า เธอทั้งหลายอย่ามีความดาริว่าปาพจน์ คือ ศาสน
ธรรม มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาแห่งเราทั้งหลายไม่มี เธอทั้งหลายไม่ถึงเห็นเช่นนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดี
อันใดอันเราได้แสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาแห่งเธอทั้งหลาย
โดยกาลล่วงไปแล้วแห่งเราต่อแต่นั้นทรงสั่งสอนให้ภิกษุร้องเรียกกันและกันโดยอาหารอันสมควรว่า ภิกษุเถระผู้
แก่พรรษา พึงเรียกภิกษุที่อ่อนกว่าตนโดยชื่อ หรือ โคตร หรือโดยคาว่า “อาวุโส” ส่วนภิกษุใหม่ที่อ่อนพรรษา
พึงเรียกภิกษุผู้เถระมีพรรษาแก่กว่าตนว่า “ภันเต” หรือ “อายัสมา”
ปัจฉิมโอวาท
ทรงตรัสเตือนภิกษุเป็นครั้งสุดท้ายว่า “บัดนี้ ตถาคตขอเตือนเธอทั้งหลายให้รู้ว่าสังขารทั้งหลายมีความ
ฉิบหายไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวง อันเป็นประโยชน์ตนและผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่
ประมาทเถิด” พระดารัสนี้เป็นปัจฉิมโอวาท คือคาสั่งสอนครั้งสุดท้าย
ปรินิพพาน
ต่อแต่นั้นพระองค์มิได้ตรัสอะไรเลย ทรงทาปรินิพพานปริกรรมด้วยอนุปุพพวิหารสมาบัติทั้ง ๙ คือ ทรง
เข้ารูปสมาบัติทั้ง ๔ (รูปฌาน) ตามลาดับ ออกจากรูปฌานที่ ๔ แล้วเข้าอรูปสมาบัติทั้ง ๔ (อรูปฌาน) ออกจา
อรูปฌานที่ ๔ แล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ดับจิตสังขาร คือสัญญาและเวทนา ครั้นแล้วทรงออกจากสัญญา
เวทยิตนิโรธเข้าสู่อรูปฌานที่ ๔ ถอยหลังตามลาดับกลับมาจนกระทั่งปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้วเข้าสู่
ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌานโดยลาดับ พิจารณาองค์แห่งจตุตถฌานนั้นแล้ว เสด็จออกจากฌานนั้นยังมิ
ทันเข้าสู่อรูปสมาบัติ ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ ยามสุดท้ายแห่งราตรีวันอังคารขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๖ ก่อนพุทธ
ศก ๑ ปี ในขณะนั้นก็บังเกิดแผ่นดินไหวใหญ่สั่นสะเทือน โลมชาติชูชันสยดสยอง กลองทิพย์ก็บันลือสนั่น
สาเนียงในอากาศ
อปรกาล
ถวายพระเพลิง
เมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพานได้ ๗ วัน เจ้ามัลลกษัตริย์ จึงได้เชิญพระพุทธสรีระไปประดิษฐานไว้ ณ
มกุฏพันธนเจดีย์ เพื่อถวายพระเพลิง แต่ได้ถวายพระเพลิงในวันที่ ๘ เพราะรอคอยพระมหากัสสปะอยู่
ฝ่ายกษัตริย์และพราหมณ์ ๗ พระนคร คือ พระเจ้าอชาตศัตรูเมืองราชคฤห์, เจ้าลิจฉวีเมืองเวสาลี, เจ้า
ศากยะกรุงกบิลพัสดุ์, ถูลีกษัตริย์ในอัลลกัปปนคร, โกลิยกษัตริย์ในรามคาม, มหาพราหมณ์เจ้าเมืองเวฏฐทีป
กะ และมัลลกษัตริย์ในเมืองปาวา ทั้ง ๗ พระนครนี้เมื่อได้ทราบข่าวการปรินิพพานของพระพุทธจ้า ต่างก็ส่งทูต
มาถึงมัลลกษัตริย์เพื่อขอส่วนแบ่งพระสารีริกธาตุเอาไปทาการสักการะบูชา ครั้งแรกมัลลกษัตริย์ไม่ยอมแบ่งให้
จนจวนจะเกิดสงครามแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุขึ้น โทณพราหมณ์ จึงพูดกับทูตเหล่านั้นว่า พระพุทธองค์เป็นผู้
มีขันติธรรมแนะนาในทางสงบ พวกเราจะมาทาสงครามกันแย่งชิงพระสารีริกธาตุคงจะไม่สมควร แล้วจึงพูดให้
ทุกคนสามัคคีกัน จากนั้นก็ได้แบ่งพระสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วนเท่า ๆ กันให้ทูตเหล่านั้น นาไปสักการะบูชา
ในเมืองของตน
ฝ่ายโมริยกษัตริย์ในเมืองปิปผลิวัน ได้ทราบข่าว ก็ส่งทูตมาขอส่วนแบ่งบ้าง แต่พระบรมสารีริกธาตุ
หมดแล้วจึงได้พระอังคารไป
เจดีย์ ๔ ประเภท
สัมพุทธเจดีย์ คือเจดีย์อันเนื่องด้วยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านกล่าวไว้ ๔ ประเภท คือ
๑. ธาตุเจดีย์ เป็นพระสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
๒. บริโภคเจดีย์ เป็นพระสถูปที่บรรจุเครื่องบริขารของพุทธองค์
๓. อุทเทสิกเจดีย์ เป็นพระสถูปประดิษฐ์พระพุทธรูป หรือพระพุทธปฏิมา
๔. ธรรมเจดีย์ เป็นพระสถูปที่บรรจุคัมภีร์ใบลาน หรือหนังสือคัมภีร์ที่จารึกพุทธวจนะ
สังคายนา
สังคายนา หรือสังคีติ หรือการร้อยกรอง หรือจัดแจงพระธรรมวินัยให้เป็นหมวดหมู่ว่านี่เป็นธรรม นี่เป็นวินัย
จัดเป็น ๓ หมวด เรียกว่า พระไตรปิฎก คือ
๑. ที่เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับ จัดเป็น วินัยปิฎก
๒. ที่เป็นพระธรรมคาสอน อันเป็นบุคลาธิษฐาน ยกบุคคลเป็นอุทาหรณ์ จัดเป็นสุตตันตปิฎก
๓. ที่เป็นธรรมล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับบุคคลเป็นธรรมที่สุขุมลึกซึ่ง จัดเป็น อภิธรรมปิฎก
การทาสังคายนานั้น ที่พอจะนับได้มี ๕ ครั้ง ทาในชมพูทวีป ๓ ครั้ง ในลังกาทวีป ๒ ครั้ง คือ
๑. ปฐมสังคายนา ครั้งที่ ๑ กระทาที่หน้าถ้าสัตตบรรณคูหา เชิงภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ พระเจ้าอชาต
ศัตรูเป็นองค์อุปถัมภก ภายหลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน พระมหากัสสปะ เป็นประธาน พระอุบาลีเถระ วิสัชนา
พระวินัย พระอานนท์ วิสัชนาพระสูตร และพระอภิธรรม รวมกับพระอรหันตขีณาสพจานวน ๕๐๐ องค์ ปรารภ
เรื่องพระสุภัททะกล่าวจ้วงจาบศาสนา กระทาอยู่ ๗ เดือนจึงสาเร็จ
๒. ทุติยสังคายนา ครั้งที่ ๒ กระทาที่วาลิการาม เมื่องเวสาลี พระเจ้ากาฬาโศกราชเป็นองค์อุปถัมภก เมื่อ
พ.ศ. ๑๐๐ โดยพระอรหันต์จานวน ๗๐๐ องค์ มีพระยสกากัณฑกบุตรเถระเป็นประธานและมีพระสัพพกามีเถระ
และพระเรวัตตเถระ เป็นต้น ชาระเรื่องวัตถุ ๑๐ ประการ ที่พวกภิกษุชาววัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลีนามาแสดงว่า
ไม่ผิดธรรมวินัย กระทาอยู่ ๘ เดือน จึงสาเร็จ
๓. ตติยสังคายนา ครั้งที่ ๓ กระทาที่อโศการาม เมื่องปาฏลีบุตร พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นองค์อุปถัมภก เมื่อ
พ.ศ. ๒๑๘ โดยพระอรหันต์ จานวน ๑,๐๐๐ องค์ มีพระโมคคัลลีบุตรติสส เถระเป็นประธาน เนื่องด้วยเดียรถีย์
ปลอมบวชในพุทธศาสนา กระทาอยู่ ๙ เดือน จึงสาเร็จ
๔. จตุตถสังคายนา ครั้งที่ ๔ กระทาที่ถูปาราม เมืองอนุราชบุรี ลังกาทวีป พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ เป็นองค์
อุปถัมภก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖ โดยพระมหินทเถระ และพระอริฏฐเถระ เป็นประธานชักชวนภิกษุชาวสีหล ๖๘,๐๐๐
องค์ เพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงในสังกาทวีป กระทาอยู่ ๑๐ เดือน จึงสาเร็จ
๕. ปัญจมสังคายนา ครั้งที่ ๕ กระทาที่อาโลกเลณสถาน ในมลัยชนบท ลังกาทวีป พระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย
เป็นองค์อุปถัมภก เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐ โดยภิกษุชาวสีหลผู้พระอรหันต์ จานวน ๑,๐๐๐ องค์ พระติสสมหาเถระ
และพระพุทธทัตตเถระเป็นต้น เห็นความเสื่อมถอยปัญญาแห่งกุลบุตรจึงได้ประชุมกันมาจารึกพระธรรมวินัย เป็น
อักษรลงไว้ในใบลาน ทาอยู่ ๑ ปี จึงสาเร็จ ฯ
เบ็ตเตล็ด
สหชาติ ๗
สหชาติ คือผู้เกิดร่วมวันเวลาเดียวกันกับพระพุทธเจ้า มี ๗ ประการ คือ
๑. พระนางพิมพา
๒. พระอานนท์
๓. อามาตย์ชื่อฉันนะ
๔. กาฬุทายีอามาตย์
๕. กัณฐกอัศวราช ม้าพระที่นั่ง
๖. ต้นพระศรีมหาโพธิ์
๗. ขุมทรัพย์ทั้ง ๔ (สังขนิธิ. เอลนิธิ, อุบลนิธิ, บุณฑริกนิธิ)
เหตุการณ์ในระหว่างพระชนมายุ
๑. ขนานพระนาม เมื่อพระชนมายุได้ ๕ วัน
๒. พระมารดาสวรรคต เมื่อพระชนมายุได้ ๗ วัน
๓. ทรงศึกษาศิลปวิทยา เมื่อพระชนมายุได้ ๗ ปี
๔. ทรงอภิเษกสมรส เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ ปี
๕. เสด็จทรงผนวชและมีพระโอรส เมื่อพระชนมายุได้ ๒๙ ปี
๖. ตรัสรู้ เมื่อพระชนมายุได้ ๓๕ ปี
๗. เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุได้ ๘๐ ปี
สถานที่สาคัญ
๑. สวนลุมพินีวัน เป็นสถานที่ประสูติ
๒. ต้นโพธิ์ริมฝั่งแม่น้าเนรัญชรา เป็นสถานที่ตรัสรู้
๓. ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เป็นสถานที่แสดงปฐมเทศนา
๔. ปาวาลเจดีย์ เป็นสถานที่ทรงปลงอายุสังขาร
๕. สาลวโนทยาน เป็นสถานที่ปรินิพพาน
๖. มกุฏพันธนเจดีย์ เป็นสถานที่ถวายพระเพลิง

 
 
ธรรมะ ท่าน ว.วชิรเมธี
 
เวลาเจองานหนัก ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือโอกาสในการเตรียมพร้อมสู่ความเป็นมืออาชีพ


เวลาเจอปัญหาซับซ้อน ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือบทเรียนที่จะสร้างปัญญาได้อย่างวิเศษ ธรรมะ ท่าน ว.วชิรเมธ

เวลาเจอความทุกข์หนัก ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือแบบฝึกหัดที่จะช่วยให้เกิดทักษะในการดำเนินชีวิต

เวลาเจอนายจอมละเมียด ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือการฝึกตนให้เป็นคนสมบูรณ์แบบ (Perfectionist)

เวลาเจอคำตำหนิ ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือการชี้ขุมทรัพย์มหาสมบัติ

เวลาเจอคำนินทา ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือการสะท้อนว่าเรายังคงเป็นคนที่มีความหมาย

เวลาเจอความผิดหวัง ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือวิธีที่ธรรมชาติกำลังสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชีวิต

เวลาเจอความป่วยไข้ ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือการเตือนให้เห็นคุณค่าของการรักษาสุขภาพให้ดี

เวลาเจอความพลัดพราก ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือบทเรียนของการรู้จักหยัดยืนด้วยขาตัวเอง

เวลาเจอลูกหัวดื้อ ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือโอกาสทองของการพิสูจน์ความเป็นพ่อแม่ที่แท้จริง

เวลาเจอแฟนทิ้ง ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือความเป็นอนิจจังที่ทุกชีวิตมีโอกาสพานพบ

เวลาเจอคนที่ใช่แต่เขามีคู่แล้ว ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือประจักษ์พยานว่าไม่มีใครได้ทุกอย่างดั่งใจหวัง

เวลาเจอภาวะหลุดจากอำนาจ ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือความอนัตตาของชีวิตและสรรพสิ่ง

เวลาเจอคนกลิ้งกะล่อน ให้บอกตัวเองว่า
นี่คืออุทาหรณ์ของชีวิตที่ไม่น่าเจริญรอยตาม

เวลาเจอคนเลว ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือตัวอย่างของชีวิตที่ไม่พึงประสงค์

เวลาเจออุบัติเหตุ ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือคำเตือนว่าจงอย่าประมาทซ้ำอีกเป็นอันขาด

เวลาเจอศัตรูคอยกลั่นแกล้ง ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือบททดสอบว่าที่ว่า “มารไม่มีบารมีไม่เกิด”

เวลาเจอวิกฤต ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือบทพิสูจน์สัจธรรม “ในวิกฤตย่อมมีโอกาส”

เวลาเจอความจน ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือวิธีที่ธรรมชาติเปิดโอกาสให้เราได้ต่อสู้ชีวิต

เวลาเจอความตาย ให้บอกตัวเองว่า
นี่คือฉากสุดท้ายที่จะทำให้ชีวิตมีความสมบูรณ์

 

 พระพุทธศาสนา
 

 ธรรมะ
  • วิชาธรรมวิภาค
  • ทุกะ คือ หมวด ๒ ธรรมมีอุปการะมาก
    ๒ อย่าง
  • ติกะ  คือ หมวด  ๓ รัตนะ  ๓  อย่าง  คือ
  • จตุกกะ  คือ หมวด  ๔ วุฑฒิ   คือ ธรรมเป็นเครื่องเจริญ   มี  ๔  คือ
 
 
 
 
 
  Copyright 2011 kidbuak.com